หน้าเว็บ

กล้องดิจิตอล

Monday, April 23, 2012

ใช้แฟลชอย่างไรให้เหมือนโปรฯ ตอน 3 แฟลชเสริมภายนอก (External Flash)

นอกจากจะช่วยลดเงามืดและป้องกันปัญหาตาแดงได้ แฟลชเสริมภายนอกหรือ External Flash นั้นมีประโยชน์มากกว่าและสามารถทำอะไรได้หลากหลาย

ยกตัวอย่างเช่น ช่างภาพข่าวหรือนักถ่ายภาพของนิตยสารต่างก็นิยมที่จะใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบพกพาเหล่านี้ถึงแม้ว่าแฟลชป๊อปอัพจะใช้งานได้ดี แต่ถ้ากล้องของคุณมี Hot Shoe อยู่ก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก ซึ่งกล้องในระดับไฮเอ็นด์คอมแพ็คและ Digital SLR ส่วนใหญ่มักจะมีแฟลชให้เลือกใช้ทั้งสองแบบ ทำให้คุณสามารถที่จะเลือกใช้งาน External Flash เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการถ่ายภาพมากขึ้น นอกจากนี้มันยังมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ External Flash จะอยู่สูงขึ้นไปเหนือเลนส์ ทำให้มุมตกกระทบของลำแสงมากกว่าแฟลชป๊อปอัพหลายเท่า จึงไม่ต้องกังวลกับเรื่องตาแดงอีกต่อไป

1. กำหนด Flash Range
ข้อแตกต่างที่สำคัญของแฟลชเสริมรุ่นต่างๆก็คือ Guide Number ของมันยิ่งตัวเลขนี้มีค่าสูงเท่าใดมันก็จะยิ่งมีระยะทำการไกลมากขึ้นเท่านั้น นอกเหนือไปจาก Guide Number แล้วระยะ Flash Range ยังขึ้นอยู่กับความกว้างของรูรับแสงที่ใช้ด้วย (ระยะทางเป็นเมตร = Guide Number/ความกว้างรูรับแสง) แฟลชคุณภาพสูงๆนั้นอาจจะมี Guide Number ได้สูง กว่า 50 แต่ในการถ่ายภาพที่ระยะห่างระหว่างแบบกับแฟลชไม่มากนัก ก็สามารถปรับใช้ค่าที่ต่ำกว่าได้

2. ใช้อุปกรณ์ช่วยอย่างง่าย
แฟลชเสริมภายนอกนั้นเหมาะกับการให้แสงแบบ Indirect เพราะตัวหัวแฟลชสามารถปรับเอียงและสามารถหมุนได้ด้วยในบางรุ่น ดังนั้นคุณจึงสามารถที่จะปรับเงยหัวแฟลชไปยังเพดานหรือกำแพงได้ทันที และด้วยระบบควบคุมแฟลชแบบ TTL ก็ทำให้การให้แสงวัตถุเป็นไปอย่างถูกต้อง แม้จะไม่ให้แสงกับวัตถุโดยตรงก็ตาม ซึ่งแสงและเงาที่เกิดขึ้นบนหน้าของแบบจะแตกต่างกันออกไปตามมุมของการยิงแฟลช อย่างไรก็ตามการ Bounce แฟลชนั้น กำแพงหรือเพดานจะต้องมีสีขาวหรือสีที่สว่างเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดเส้นสีรบกวนขึ้นในภาพได้ แต่ถ้าในห้องนั้นไม่มีกำแพงสีขาวคุณก็สามารถใช้แผ่นสะท้อนแสง (Reflex) ช่วยในการหักเห โดยใช้วัตถุที่หาง่ายอย่างเช่น แผ่นโฟมสีขาวที่มีราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย และเพื่อที่จะได้แสงที่ดูไม่แข็งกระด้างจนเกินไปในการให้แสงโดยตรง การใช้งาน Diffuser ขนาดเล็กก็นับว่ามีส่วนช่วยในเรื่องนี้ได้มาก ซึ่งผู้ผลิดแฟลชส่วนใหญ่มักจะมี Plastic Cap ให้มาพร้อมกัน ส่วน Diffuser ขนาดใหญ่ๆนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันกับ Soft Box ซึ่งจะทำให้แสงที่ยิงออกมาอ่อนนุ่มมากยิ่งขึ้น แต่นั่นก็จะทำให้ระยะ Flash Range ลดลงไปประมาณ 2-3 ความกว้างรูรับแสงด้วย

3. การใช้แฟลชใต้แสงอาทิตย์
ถ้าเป็นการถ่ายภาพกลางแจ้งมักจะเกิดเงาดำที่ไม่ต้องการบนใบหน้าของตัวแบบ เพื่อกำจัดมันออกไปและเพื่อที่จะให้สามารถใช้ความกว้างรูรับแสงกว้างๆได้แม้ในเวลานั้นจะมีแสงแดดจ้ามากๆ คุณจำเป็นต้องหันไปใช้แฟลชในระบบ High Speed Sync หรือ Shot Time Synchronization ในการถ่ายภาพเพราะที่การตั้งค่านี้ แฟลชจะกำหนดให้แสงยิงออกมาแบบต่อเนื่อง ทำให้การให้แสงที่ตัวบุคคลนั้นเป็นไปอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอภายในระบะเวลาการให้แสงที่สั้น

1.ยิงแฟลชตรงๆ

แสงแฟลชที่พุ่งมาตรงๆ ของแฟลชเสริมก็ทำให้เกิดเงามืดที่ด้านหลังเหมือนกัน แต่อย่างน้อยแฟลชเสริมภายนอกก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาตาแดงตามมา

2.Diffuser
ถ้ากำแพงห้องสูงเกินไป ก็จำเป็นต้องยิงแฟลชเข้าไปตรงๆ เพราะไม่เช่นนั้นตัวบุคคลจะได้รับแสงไม่เพียงพอ แต่เพื่อไม่ให้เกิดเงาทางด้านหลังของแบบอุปกรณ์กรองและกระจายแสง Diffuser สามารถช่วยให้แสงนุ่มและลดปริมาณแสงที่จะทำให้เกิดเงาดำได้

3.เพดานห้อง
ในการยิงแฟลชกระทบกับเพดานห้องหรือที่เรียกการ Bounce Flash จะทำให้เกิดเงามืดที่กำแพงด้านหลัง

4.อุปกรณ์ช่วยแข็งๆ อย่างกำแพง
การให้แสงแฟลชทางอ้อมผ่านกำแพงสีขาวหรืออาจจะเป็นแผ่นโฟมสีขาวก็ได้ ก็จะเกิดการเล่นแสงและเงาที่สวยงามบนใบหน้าของตัวแบบขึ้นได้

No comments:

Post a Comment