หน้าเว็บ

กล้องดิจิตอล

Tuesday, November 8, 2011

กล้องดิจิตอล เร็วขนาดไหน

กว่าที่จะได้เป็นภาพออกมา กล้องดิจิตอลแต่ละตัวจะมีกระบวนการทำงานต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย
โดยในบทความต่อไปนี้ CHIP จะอธิบายให้คุณได้รู้ว่า ภายในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาทีหลัง
จากที่เรากดปุ่มชัตเตอร์ลงไปนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

“เพียงแค่เล็งแล้วกดปุ่มก็เก็บภาพได้แล้ว” คำกล่าวที่ฟังดูเหมือนจะง่ายนี้ ในกล้องดิจิตอลแต่ละ
ตัวจะมีกระบวนการที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลังมากมายและที่สำคัญแต่ละขั้นตอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นมันจะ
ต้องทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการสนับสนุนจากแผนกวิจัยของผู้ผลิตกล้อง
ดิจิตอลชั้นนำของโลกอย่าง Leica ในบทความต่อไปนี้ CHIP จะเปิดเผยให้คุณได้รู้ถึงขั้นตอนทั้ง
หมดที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อให้คุณได้รู้ว่าการใช้งานที่ง่ายดายในช่วงเวลาไม่กี่วินาทีนี้ กล้อง
ติจิตอลต้องทำอะไรบ้าง

ขั้นตอนต่างๆ ต่อไปนี้ที่ CHIP จะอธิบายต่อไปนี้จะเป็นการทำงานของกล้อง Leica X1 ซึ่งแม้ว่าจะ
มีราคาที่แพงสักหน่อย (ประมาณ 65,000 บาท) จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆ ที่มีคุณภาพสูง ทั้ง
วัสดุที่ใช้ทำตัวกล้อง เลนส์ที่มีความสว่างและยังมีเซ็นเซอร์ขนาด APS-C แบบกล้องดิจิตอล SLR
อีก แต่วิธีการทำงานต่างๆ ของมันนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากกล้องดิจิตอลทั้งหลายเลยไม่ว่าจะ
เป็นกล้อง Ixus, Cyber-shot, Coolpx หรือว่า Lumix ก็ตาม

ในขั้นแรกนี้ CHIP จะขอเริ่มต้นจากสถานการณ์พื้นฐานของการถ่ายภาพก่อนคือ เมื่อผู้ใช้มองไป
ที่สิ่งที่จะถ่ายบนจอภาพของกล้อง ซึ่งในกรณีนี้กล้องจะทำงานอยู่ในโหมด Live-View ซึ่งระบบ
กลไกของชัตเตอร์ยังคงเปิดอยู่และเซ็นเซอร์ภาพจะถูกอ่านอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นในระหว่าง
ที่อยู่ในโหมด Live-View นี้รูรับแสงจะยังคงทำหน้าที่ควบคุมความสว่างของภาพด้วยส่วนหนึ่ง แต่
เนื่องจากในการแสดงภาพบนหน้าจอเมื่อกล้องอยู่ในโหมดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดสูงสุด ดังนั้นกล้องจึงอ่านข้อมูลจากเซ็นเซอร์ภาพเฉพาะทุกๆ บรรทัดที่ 3 เท่านั้น เพียงแต่เพื่อให้ผู้ใช้
เห็นภาพบนหน้าจอได้อย่างไหลลื่น ภาพจากเซ็นเซอร์จึงต้องถูกแสดงขึ้นมาด้วยอัตรา 25 ภาพ
ต่อวินาที โดยกล้องจะคำนวณภาพให้มีขนาดเล็กเท่ากับความละเอียดของจอภาพก่อน สำหรับใช้
เป็น View Finder ที่มองผ่านหน้าจอ ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไป กล้องก็พร้อมที่จะทำการถ่ายภาพ
แล้ว

0.1 วินาที
ในช่วง 100 มิลลิวินาทีแรกหลังจากที่กดชัตเตอร์นั้น ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกล้องจะเปลี่ยนจาก
โหมด Live-View มาเป็นโหมดที่เรียกว่า Windows Scanning เพื่อจะได้ทำการปรับความคมชัด
ของภาพได้อย่างถูกต้อง โดยระบบจะอ่านข้อมูลจากทุกๆ บรรทัดที่อยู่ในส่วนกลางของเซ็นเซอร์
ภาพแล้วปรับคอนทราสต์ให้มีความเหมาะสมกับระบบโฟกัสอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการทำงานนี้กล้อง
Leica X1 สามารถตรวจสอบพื้นที่ที่ทำการปรับความคมชัดของระบบโฟกัสอัตโนมัติได้ถึง 11 จุด
โดยภาพภาพความละเอียดสูงที่ได้ในช่วงเวลานี้ จะมีไว้เพื่อให้สามารถตั้งระยะโฟกัสของเลนส์ให้
ถูกต้อง

0.35 วินาที
ตั้งแต่ช่วงเวลานี้เป็นต้นไป จะเริ่มเป็นการวัดค่าคอนทราสต์และขณะเดียวกันเลนส์ของกล้องก็จะ
เริ่มเคลื่อนที่ด้วย โดยจะเลื่อนไปมาจนกว่าแต่ละพื้นที่ที่ทำการวัดจะมีค่าคอนทราสต์สูงสุด โดย
คอนทราสต์สูงสุดนี้หมายถึง ความคมชัดที่บริเวณขอบภาพด้วย เมื่อได้ค่าดังกล่าวแล้วเลนส์ก็จะ
หยุดเคลื่อนที่ ซึ่งในระยะเวลา 350 มิลลิวินาทีที่ CHIP ได้ระบุไว้นี้จะป็นค่าเฉลี่ยที่กล้องใช้สำหรับ
ภาพปกติทั่วไป แต่ถ้าหากระยะทางที่เลนส์เคลื่อนที่สั้นกว่านี้ กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ก็อาจจะใช้
เวลาแค่ 150 มิลลิวินาทีก็ได้ หรือในทางกลับกันหากมีระยะทางที่ไกลกว่าอย่างเช่นในกล้อง
Leica X1 ระยะเวลาที่ใช้ก็จะมากที่สุดถึง 400 มิลลิวินาที

0.45 วินาที
เมื่อกล้องปรับระยะโฟกัสเรียบร้อยแล้ว ระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเปลี่ยนกลับไปอยู่ในโหมด Live
View อีกครั้ง เพื่อทำการวัดแสงและปรับการสมดุลแสงขาวต่อไป

0.5 วินาที
จากภาพที่ตรวจจับได้นี้ กล้องจะทำการคำนวนหาค่าที่ดีที่สุดสำหรับระยะเวลาการให้แสงและการ
ปรับสมดุลแสงขาวอัตโนมัติออกมา ซึ่งในกรณีที่ภาพมีความละเอียดต่ำ มันจะช่วยให้การคำนวณ
เป็นไปได้อย่างรวดเร็วจนทำให้ขั้นตอนนี้ใช้เวลาแค่ 50 มิลลิวินาทีเท่านั้น

0.6 วินาที
ในช่วง 100 มิลลิวินาทีต่อไปจะมีหลายๆ กระบวนการเกิดขึ้นพร้อมกัน โดยเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยน
โหมด Live-View ไปเป็นโหมดการบันทึกภาพแบบเต็มรูปแบบ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการ
กดชัตเตอร์ในส่วนต่อไป ในขณะเดียวกันระบบกลไกของชัตเตอร์ก็จะปิดและเปิดรูรับแสงให้อยู่
ตำแหน่งที่พร้อมจะทำงาน ซึ่งในระหว่างนี้ตัวเซอร์เซอร์ภาพจะอยู่ในสภาพที่มืดสนิทและพร้อมที่
จะเริ่มทำการบันทึกภาพ

0.63 วินาที
ระบบกลไกของชัตเตอร์จะถูกเปิดออกและปิดลงอีกครั้งตามช่วงระยะเวลาการให้แสงที่เลือกไว้
หรือถูกกำหนดโดยอัตโนมัติจากคำนวณของกล้อง ซึ่งในช่วงเวลาที่ระบบกลไกของชัตเตอร์เปิด
ออกนั้น เซ็นเซอร์ภาพที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่มีความไวแสงสูงจะทำการบันทึกค่าแสงที่ตก
มากระทบเอาไว้ (ในตัวอย่างนี้จะเป็นการเลือกเวลาการให้แสงไว้ที่ 30 มิลลิวินาที ซึ่งจะสอด
คล้องกับการตั้งค่ารูรับแสงที่ใช้ประมาณ 1/30 วินาที) แล้วทำการแปลงค่าที่ตรวจจับได้นั้นให้เป็น
ค่าดิจิตอลทันที

เซอร์เซอร์ภาพทั้งที่เป็นแบบ CMOS และ CCD เกือบทั้งหมดที่ใช้กับกล้องส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะ
เป็นแบบที่เรียกกันว่า Bayer Sensor ซึ่งแต่ละเซลล์ของมันจะมีฟิลเตอร์สีติดตั้งอยู่โดย 25
เปอร์เซ็นต์ของเซลล์ทั้งหมดจะมีฟิลเตอร์สีแดงและอีก 25 เปอร์เซ็นต์เป็นฟิลเตอร์สีน้ำเงิน ส่วนที่
อีก 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะเป็นฟิลเตอร์สีเขียว ซึ่งนั่นหมายความว่าแต่ละจุดพิกเซลจะรับค่า
ความสว่างเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งตามฟิลเตอร์เท่านั้น แต่เนื่องจากเมื่อได้เป็นภาพในภายหลังทุกจุด
จะต้องแสดงส่วนของสีทั้งหมด ดังนั้นนอกจากการวัดค่าสีเพียงสีเดียวของแต่ละเซลล์แล้ว
เซ็นเซอร์ยังจะต้องทำการคำนวณสีสองสีที่เหลือขึ้นมาจากเซลล์หรือจุดที่ติดกันด้วย เพียงแต่การ
Interpolate เหล่านี้จะเกิดขึ้นในส่วนต่อไป

เมื่อผ่านช่วงเวลาหรือกระบวนการต่างๆ เหล่านี้แล้ว ภาพที่เห็นบนหน้าจอก่อนหน้านี้ก็ได้เข้าไปอยู่
ในกล้องแล้ว ดังนั้นเวลา 630 มิลลิวินาทีที่ใช้ไปตั้งแต่กดชัตเตอร์นี้ก็คือ ความเร็วในการตอบ
สนองของเช็ตเตอร์ 0.63 วินาทีที่มาจากการตั้งค่าที่ได้เลือกไว้นั่นเอง

0.82 วินาที
ถึงแม้ว่าการอ่านข้อมูลจากเซ็นเซอร์ CMOS จะทำได้เร็วกว่าเซ็นเซอร์ที่เป็น CCD แต่กล้อง
Leica X1 ที่ใช้เป็นตัวอย่างนี้ก็จะต้องใช้เวลาในการอ่านข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากเซ็นเซอร์ถึง 190 มิ
ลลิวินาที นอกจากนั้นค่าที่ได้ในขั้นตอนนี้ก็ยังคงเป็นแค่ข้อมูลความสว่างที่เป็นระบบดิจิตอล ซึ่ง
ยังต้องผ่านกระบวนการประมวลผลอีกมากกว่าจะได้ภาพที่สมบูรณ์ออกมาจริงๆ แต่เมื่อถึงจุดนี้
กล้อง Leica X1 ก็มีทางเลือกสำหรับการบันทึกภาพขึ้นมาคือการบันทึกเฉพาะข้อมูลดิบเหล่านี้ใน
รูปแบบของไฟล์ DNG (Adobe Digital Negative) ลงในการ์ดหน่วยความจำสำหรับนำไปปรับแต่ง
ด้วยตัวเองในภายหลัง กับการให้กล้องนำไปข้อมูลดิบที่ได้ไปประมวลผลในส่วนต่อไปอีก 2 ขั้น
จนกระทั่งได้เป็นภาพที่ใช้งานได้จริงออกมา หรือจะเลือกที่จะบันทึกทั้งสองอย่างก็สามารถทำได้
เช่นกัน

0.96 วินาที
ในขั้นตอนต่อไป กล้องจะนำข้อมูลดิบที่ได้จากเซ็นเซอร์มาทำให้เป็นภาพที่แท้จริงๆ โดยการ
ประมวลผลภาพต่อไปนี้จะประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อยๆ จำนนวน 7 ขั้นตอนคือการกรอง
จุดรบกวน การสมดุลแสงขาว การ Interpolate และปรับสี การปรับความคมชัด การปรับคอน
ทราสต์ การปรับ Gamma และการแปลงห้วงสี RGB ให้เป็น YCC โดยขั้นตอนที่ถือว่าสำคัญที่สุด
ก็คือ การ Interpolate สีซึ่งแต่ละพิกเซลจะได้รับค่าสีอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากค่าสีของตัวเอง
โดยการคำนวณจากพิกเซลที่อยู่ข้างเคียง (แดง เขียว หรือน้ำเงิน) ซึ่งหลังจากขั้นตอนนี้แล้ว ภาพ
ที่ได้จึงจะเป็นภาพสีอย่างแท้จริง จากนั้นการปรับความคมชัดและฟิลเตอร์ต่างๆ ของกล้องก็เป็น
เพียงแค่การทำให้ภาพดูดีขึ้นเท่านั้น

สำหรับสิ่งสำคัญที่มีผลต่อขนาดภาพที่ได้ในภายหลังก็คือ การเปลี่ยนห้วงสีมาเป็น YCC (ส่วนของ
สีและความสว่างจะถูกส่งผ่านออกไปโดยแยกเป็นคนส่วนกัน) โดยรูปแบบดังกล่าวนี้จะช่วยทำให้
สามารถบีบอัดข้อมูลสีได้มากขึ้น โดยภาพเต็มทุกภาพที่ถูกส่งมาจากเซ็นเซอร์จะต้อง
ผ่านกระบวนการประมวลผลภาพทั้งหมดดังที่กล่าวมานี้ ส่วนภาพความละเอียดต่ำสำหรับใช้เป็น
Thumbnail และแสดงผลบนหน้าจอนั้นกล้องจะคำนวณขึ้นมาในขั้นตอนท้ายสุด หลังจากได้ภาพ
ที่สมบูรณ์แล้ว

1.02 วินาที
ตัวประมวลผลของกล้อง Leica X1 จะบีบอัดภาพที่ได้ให้อยู่ในรูปแบบ JPEG โดยใช้เวลาประมาณ
60 มิลลิวินาที ซึ่งในการบีบอัดนั้นจะไม่ได้เป็นเพียงแค่การรวมเอาจุดใกล้เคียงเข้าด้วยกันเท่านั้น
แต่ยังจะตัดส่วนของภาพที่มีความถี่สูง ซึ่งตาของคนเราไม่สามารถเห็นได้ออกไปด้วย โดยในขั้น
แรกจะเป็นการใส่ DCT (Discrete Cosinus Transformation) เข้าไปในภาพทีละบล็อก (ส่วน
ของภาพที่ถูกตัดออกเป็นส่วนๆ) เพื่อเปลี่ยนให้เป็นภาพในรูปแบบความถี่ จากนั้นในขั้นตอนที่ 2
จะบันทึกส่วนของสีด้วยความละเอียดที่น้อยกว่าค่าความสว่างและสุดท้ายจะบีบอัดข้อมูลภาพทั้ง
หมดอีกครั้งด้วยกระบวนการ Huffman Compression เพื่อให้ได้ไฟล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะ
เป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขการตั้งค่าคุณภาพของกล้อง

1.03 วินาที
หลังจากผ่านการบีบอัดแล้ว กล้องจะเริ่มสร้างไฟล์ที่แท้จริงขึ้นมาโดยจะนำ Header ซึ่งข้อมูล
ประกอบต่างๆ ของไฟล์ภาพเช่นรูปแบบ ขนาด วันที่มารวมไว้กับข้อมูลภาพ รวมทั้งมีข้อมูล EXIF
บรรจุอยู่ด้วยโดยข้อมูลในส่วนนี้ กล้องจะบันทึกค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพเช่น วันเวลาที่ถ่าย,
ระยะโฟกัส, ความเร็วชัตเตอร์, โหมดถ่ายภาพ, ความกว้างรูรับแสงและค่าความไวแสง ISO รวม
เข้าไว้ด้วยกัน จากนั้นจะเอาข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ พร้อมทั้งภาพตัวอย่างบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำชั่วคราว

1.22 วินาที
ในขั้นตอนสุดท้าย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกล้องจะทำการบันทึกไฟล์ภาพที่สมบูรณ์ ลงไปไว้ใน
การ์ดหน่วยความจำ ซึ่งการทำงานในขั้นตอนนี้จะช้าหรือเร็วเพียงใดนั้น นอกเหนือไปจาก
ประสิทธิภาพของกล้องแล้วยังขึ้นอยู่กับการ์ดหน่วยความจำและขนาดของไฟล์ภาพเป็นสำคัญ
เพราะอย่างเช่นในกรณีของกล้อง Leica X1 นี้ไฟล์ภาพที่อยู่ในรูปแบบ DNG นั้นจะมีขนาดที่ใหญ่
ถึง 18MB ซึ่งใหญ่กว่าไฟล์ภาพแบบ JPEG ถึง 3 เท่าทีเดียว


0.63 วินาที: ความเร็วชัตเตอร์
เพียงแค่การปิดเปิดการรับแสงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในกล้องดิจิตอลก็มีกระบวนการต่างๆ เกิด
ขึ้นถึง 6 อย่างแล้ว นอกจากนั้นสิ่งที่ได้มา ก็ยังห่างไกลจากการเป็นภาพถ่ายดิจิตอลมากด้วย

0.82 วินาที: เซ็นเซอร์ CMOS
กล้อง Leica X1 รวมทั้งกล้องหลายๆ รุ่นในปัจจุบันจะทำงานโดยใช้เซ็นเซอร์ภาพที่เป็น CMOS
ซึ่งมีจุดเด่นที่เหนือกว่าเซ็นเซอร์ที่เป็นแบบ CCD คือ มันจะมีตัวแปลงสัญญานอนาล็อกเป็น
ดิจิตอลอยู่ในตัวเซอร์เซอร์เลย




0.96 วินาที: ตัวประมวลผลภาพ
กล้องดิจิตอลจะทำการคำนวณและเพิ่มเติมค่าสีที่ขาดหายไปจากค่าความสว่างจำนวนมาก รวมทั้ง
จัดการความคมชัดและความถูกต้องต่างๆ ของภาพด้วย


1.02 วินาที: ภาพในรูปแบบ JPEG
การบีบอัดภาพที่มากเกินไป มักจะทำให้ข้อมูลของภาพเกิดการสูญหายไปด้วย และเป็นปัญหา
สำคัญที่พบได้จากกล้องที่มีราคาประหยัดเป็นส่วนใหญ่
1.22 วินาที: สื่อบันทึก
ความเร็วในการอ่านของสื่อบันทึกนั้นแทบจะไม่เคยเป็นปัญหาอะไรกับกล้องดิจิตอลทั้งหลายใน
ปัจจุบันเลย ในขณะที่ความเร็วในการเขียนข้อมูลของมันนั้นยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญให้
มาก

ภาพถ่ายดิจิตอล: เทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
แทบจะไม่มีเทคโนโลยีอะไรที่จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลายเท่ากับ เทคโนโลยี
การถ่ายภาพดิจิตอลอีกแล้ว เพราะนับตั้งแต่งาน Photokina ซึ่งเป็นนิทรรศการแสดงเทคโนโลยี
การถ่ายภาพของบริษัทผู้ผลิตกล้องและช่างภาพทั้งหลายถูกจัดขึ้นในปี 1994 พร้อมกับสโลแกน
ที่ว่า Digital Total ก็ทำให้การถ่ายภาพได้เริ่มเข้าสู่ยุคที่เป็นระบบดิจิตอลอย่างเต็มตัว และจากที่
กล้องดิจิตอลได้ถูกจัดให้เป็นอุปกรณ์ไฮเทคสำหรับผู้ใช้มืออาชีพที่มีแต่ในสตูดิโอ มันก็ได้กลาย
มาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทอรนิกส์ ที่คนทั่วไปสามารถหาซื้อมาใช้กันได้ในราคาไม่กี่พันบาท โดยมีข้อ
ได้เปรียบที่สำคัญคือ การใช้สื่อบันทึกของมันสามารถบันทึกภาพได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ในขณะที่
ภาพที่ได้ก็สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกสบายทั้งในรูปแบบที่เป็นระบบดิจิตอลหรือว่าพิมพ์
ออกมาบนกระดาษ นอกจากนั้นภายในตัวกล้องดิจิตอลทั้งหลายก็ยังเต็มไปด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง
ที่มีความฉลาด สำหรับการถ่ายภาพในลักษณะต่างๆ ด้วย

เมื่อใช้งานจริง: ข้อดีมากมายของการบันทึกภาพในรูปแบบ RAW
เมื่อกล้องทำการบันทึกภาพลงในการ์ดหน่วยความจำแล้ว ภาพที่ได้นั้นจะไม่สามารถแก้ไข
คุณลักษณะที่สำคัญๆ ได้อีก เว้นเสียแต่ว่าภาพดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในรูปแบบ RAW ซึ่งข้อมูล
ต่างๆ ของมันยังไม่ได้มีการประมวลผลในขั้นสุดท้าย ซึ่งนั่นทำให้มันสามารถกำหนดใช้ค่า
พารามิเตอร์ต่างๆ ในภายหลังและปรับแต่งคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติมได้อย่างยืดหยุ่น ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องการสมดุลแสงขาว หรือว่าการให้สี

ถ่ายภาพที่อยู่ในรูปแบบ RAW นั้น นอกจากจะนำไปปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่นแล้ว การใช้เครื่องพี
ซีก็ยังทำให้มันข้อดีที่สำคัญอีกประการคือ ภาพต่างๆ สามารถปรับแต่งโดยใช้อัลกอริทึ่มที่มีความ
ซับซ้อนมากๆ ได้เช่น การกรองจุดรบกวน การแก้ไขและปรับแต่งโทนสี หรือแม้กระทั่งการปรับ
แก้ Vignette ของภาพและการแก้ความบิดเบือนของภาพก็สามารถทำได้เช่นกัน และนอกเหนือ
ไปจากการใช้อัลกอริทึ่มเหล่านี้แล้ว ภาพผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังมีคุณภาพที่สูงกว่าภาพรูปแบบ JPEG ที่
บันทึกโดยกล้องด้วย เนื่องจากไฟล์ภาพ JPEG ทั่วไปนั้นจะมีความลึกของสี 8 บิตซึ่งแต่ละสีจะมี
ค่า 256 ระดับ ในขณะที่ภาพในรูปแบบ RAW นั้นจะมีความลึกของสีได้ถึง 12 บิตหรือสูงกว่านี้
(ขึ้นอยู่กับตัวแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลภายในเซ็นเซอร์ภาพที่กล้องใช้) ดังนั้นแต่ละสี
ของภาพในรูปแบบ RAW นี้จึงมีค่าได้ถึง 4,096 ระดับทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ภาพในรูปแบบ RAW นี้ก็มีข้อเสียที่ต้องระวังอยู่ด้วยเหมือนกันคือ ไฟล์ภาพในรูป
แบบแบบนี้จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลค่อนข้างมาก นอกจากนั้นมันจะ
ต้องนำไปปรับแต่งด้วยซอฟท์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานก่อนเสมอ ถึงจะได้ภาพที่สามารถนำไป
ใช้งานได้จริงๆ

คำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพ
หากคุณพบว่ากล้องดิจิตอลที่ใช้อยู่นั้นมีความเร็วที่ช้าเกินไปและไม่สามารถให้ภาพที่ดีได้ ก็อย่า
ได้นำมันไปทิ้งหรือรีบซื้อกล้องตัวใหม่ เพราะคำแนะนำและวิธีการเหล่านี้อาจจะช่วยคุณได้

โปรแกรมสำเร็จรูป
โดยปกติแล้ว กล้องดิจิตอลทั้งหลายจะมีโปรแกรมถ่ายภาพสำเร็จรูปสำหรับสถานการณ์ต่างๆ มา
ให้ใช้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นโหมดสำหรับการถ่ายภาพบุคคล ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพกลางคืน
ภาพระยะใกล้ ภาพกีฬาและภาพหิมะ หรือถ้าเป็นกล้องที่กันน้ำได้ก็จะมีโหมดสำหรับถ่ายภาพใต้
น้ำด้วย โดยโหมดถ่ายภาพเหล่านี้จะมีรูปแบบการตั้งค่าที่แน่นอนไว้ให้แล้วสำหรับการใช้ช่วงทาง
ยาวโฟกัส ระยะเวลาการให้แสง ความกว้างของรูรับแสงและการปรับสมดุลแสงขาวต่างๆ ซึ่งการ
กำหนดค่าที่มีความแน่นอนในลักษณะดังกล่าวนี้จะทำให้กล้องลดขั้นตอนในการทำงานลงไปได้
มากจนทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นแล้ว ภาพที่ได้ออกมาส่วนใหญ่ก็ยังดูดีและเหมาะสมด้วย
กำหนดค่าด้วยตัวเอง

ถ้าหากกล้องของคุณสามารถถ่ายภาพระบบแมนนวลได้ ก็ควรลองปิดการทำงานที่เป็นระบบ
อัตโนมัติของกล้องแล้วเปลี่ยนมาถ่ายภาพโดยการตั้งค่าการให้แสงด้วยตัวเองดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็น
การปรับค่ารูรับแสงหรือว่าความเร็วชัตเตอร์ แต่อย่างไรก็ดีการถ่ายภาพในลักษณะดังกล่าวนี้คุณ
ควรจะฝึกฝนให้ชำนาญจริงๆ เพราะการเลือกใช้ค่า f ค่าใดค่าหนึ่งสำหรับถ่ายภาพบางอย่างนั้น
บางครั้งมันอาจจะใช้ไม่ได้เสมอไป
โปรแกรมสำเร็จรูป: โหมดการถ่ายที่มีการกำหนดรูปแบบและค่าต่างๆ เอาไว้แล้ว นอกจะทำให้ได้
ภาพที่เหมาะสมแล้ว ยังช่วยทำให้กล้องลดขั้นตอนการทำงานลงไปได้มากด้วย

No comments:

Post a Comment