หน้าเว็บ

กล้องดิจิตอล

Sunday, October 2, 2011

Sony Alpha NEX-C3

เกิดมาเพื่อสืบทอดความสำเร็จ

กล้องสายพันธ์ NEX ยุคที่ 2 ซึ่งกลับมาพร้อมกับภาพที่ละเอียดและ
ความสามารถที่มากขึ้น ในสไตล์กล้องน้ำหนักเบา ใช้งานได้ง่ายกว่า
เดิม

กล้องตระกูล NEX เป็นระบบกล้องไร้กระจกสะท้อนที่ออกแบบ
โดยโซนี่ ซึ่งให้ประโยชน์ในเรื่องตัวกล้องที่มีขนาดเล็กลงกว่ากล้อง
DSLRเน้นระบบการทำงานที่ง่ายเพียงแค่เล็งแล้วถ่ายแบบเดียวกับ
กล้องคอมแพค แต่มีจุดเด่นที่เหนือกว่ากล้องคอมแพค ด้วยเซนเซอร์
CMOS ขนาด APS-C เช่นเดียวกับ ที่มีการใช้งานในกล้อง Alpha
หรือกล้อง DSLR ของผู้ผลิตรายอื่นๆ

โดยในปีที่ผ่าน โซนี่ก็ได้เปิดตัวกล้องระบบใหม่นี้ ในชื่อรุ่น NEX-3
และ NEX-5 พร้อมกับเลนส์อีก 3 ตัว และในปีนี้กล้อง NEX-C3
ก็ได้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งของกล้อง NEX-3 ที่ยกเลิกการผลิตไปแล้ว
ซึ่งกล้องตัวใหม่ก็ได้เพิ่มความละเอียดเซนเซอร์จากเดิมที่มีความละ
เอียด 14.2 ล้านพิกเซลไปเป็น 16.2 ล้านพิกเซล ด้วยเหตุนี้เอง
ภาพที่ได้จึงมีขนาดใหญ่กว่า และมีคุณภาพภาพสูงกว่ากล้องรุ่นพี่ทั้ง
2 ตัว โดยในการทดสอบของเรา กล้อง NEX-C3 สามารถสร้างผล
คะแนนออกมาได้ถึง 95 คะแนนจาก 100 คะแนนในหัวข้อคุณภาพ
ภาพ ซึ่งไม่น่าแปลกใจนัก เพราะเซนเซอร์รับภาพรุ่นใหม่นี้เป็นตัว
เดียวกับที่ใช้ในกล้อง Alpha 35 และจะนำไปใช้งานในกล้อง
Alpha 55 ด้วย อย่างไรก็ดี ระบบป้องกันภาพสั่นก็ยังคงไม่มีอยู่
ในกล้องตระกูล NEX เช่นเคย

ในหัวข้อการวัดความละเอียดเส้นจากภาพถ่ายกล้อง NEX-C3
สามารถวัดค่าได้สูงสุด 1495 Line pairs ที่ค่าความไวแสง
ISO 200 และถ้าขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ที่ ISO 800 ความละเอียดเส้น
จะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะลดลงไปต่ำสุดที่ 1069 Line pairs
เมื่อใช้ค่าความไวแสง ISO 12800 ซึ่งยังถือว่ามีความละเอียดเส้น
ที่ยังคงสูงอยู่ การที่ให้ผลลัพธ์เช่นนี้นับว่ามีประโยชน์มาก เมื่อต้อง
เผชิญกับสภาพแสงแย่ๆ กระนั้นในทางปฏิบัติแล้ว เราขอแนะนำ
ให้เลือกใช้ค่าความไวแสง สูงสุดที่ ISO 1600 จะดีกว่าหรืออย่าง
มากก็แค่ ISO 3200 เพราะว่า ภาพที่ออกมานั้น สามารถมองเห็น
จุดรบกวนพบภาพได้อย่างชัดเจนเมื่อแสดงผลภาพแบบเต็มจอบน
คอมพิวเตอร์






เรื่องปริมาณจุดรบกวนนี้ดูจะจัดการได้แย่กว่ากล้อง NEX-3 โดยเฉพาะ ในบริเวณพื้นที่ที่มีคอนทราสต์ต่ำแตกต่างกัน รายละเอียดของซับเจกจะมีรายละเอียดน้อยกว่า ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่เซนเซอร์ เพิ่มความละเอียดให้สูงกว่าเดิม และที่ค่า ISO 1600 รายละเอียดภาพ ยังคงดีอยู่ แต่ถ้าจาก ISO 3200 ขึ้นไป ภาพจะสูญเสียรายละเอียดไปมาก
โฟกัสอัตโนมัติยังคงช้าเช่นเดิม
จุดด้อยอย่างหนึ่ง ที่มาพร้อมกับกล้อง NEX-3 ก็คือ การทำงานของระบบโฟกัสอัตโนมัติ ที่ค่อนข้างช้า และก็ยังคงไม่ดีขึ้นนัก ในกล้อง NEX-C3 ซึ่งสามารถโฟกัสภาพ ด้วยเวลา 0.64 วินาทีในสภาพแสงเวลากลางวัน และ 0.73 วินาทีในสภาพแสงน้อย หรือสลัวๆ ต่างจากระบบไร้กระจกสะท้อนอย่างกล้อง Panasonic Lumix DMC-G3 ที่โฟกัสได้เร็วด้วยเวลาเพียง 0.32 วินาที

ขณะที่การถ่ายภาพต่อเนื่อง เป็นชุดกล้อง NEX-C3 กลับทำได้น่าประทับใจ ด้วยความเร็ว 5.6 ภาพต่อวินาที ทั้งในการถ่ายภาพแบบไฟล์ RAW และ JPEG แต่จะต่างกันตรงที่ ในโหมด RAW จะทำการบันทึกภาพได้ 6 ภาพต่อการถ่าย 1 ชุด ส่วนโหมด JPEG จะถ่ายได้ 16 ภาพ ภาพเหล่านี้สามารถบันทึกลงใน การ์ดหน่วยความจำทั้งชนิด Memory Stick Duo หรือ SD HC Card

เน้นใช้งานง่าย: เมนูหลักแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งง่ายต่อการแบ่งแยก และการทำความเข้าใจของผู้ใช้งาน
รูปแบบการควบคุมกล้องยังคงแนวทางเดิมเหมือนกับรุ่นที่ผ่านมา กล่าวคือ ไม่จำเป็น ต้องมีปุ่มสั่งงานมากมาย เพียงแค่กดปุ่มชัตเตอร์ก็จะได้ภาพถ่ายที่ดีออกมาได้ ดังนั้นปุ่มฮาร์ดแวร์ควบคุม จึงมีเฉพาะเท่าที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การตั้งค่า ISO ก็จะเข้าถึงผ่านทางเมนูที่เต็มไปด้วยสีสัน จากนั้นหมุนเลือกค่าด้วยปุ่ม Scroll Wheel และกดปุ่มยืนยันที่อยู่ตรงกลาง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้รูปแบบของโหมดถ่ายภาพ จึงเน้นไปในเรื่องโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ โหมด Scene พร้อมด้วยการตั้งค่าปลีกย่อยอย่าง Color Mode และ Picture Effect แต่ก็ยังมีโหมด P, A, S, M, ให้ใช้งานด้วย นอกจากนี้กล้องยังเปิดใช้งานในส่วนของ Dynamic range optimizer ที่เลือกใช้งานได้ทั้งหมด 3 ค่า (off, DRAuto, HDR Auto) และที่ยังใส่โหมดถ่ายภาพ Sweep Panorama และ 3D Sweep Panorama มาให้

เลือกโหมด: การเลือกโหมดถ่ายภาพก็ทำได้ง่าย เพียงแค่หมุนปุ่ม Scroll Wheel จอแสดงผลก็จะเลื่อนโหมดถ่ายภาพพร้อมคำอธิบายให้
ระบบควบคุมแม่นยำขึ้น พร้อมจอแสดงผลที่คมชัด
ถ้า จะมองหา ปุ่มเลือกโหมดถ่ายภาพอย่าง P, A, S, M บนกล้อง คงต้องแสดงความเสียใจ เพราะปุ่มแบบฮาร์ดแวร์เหล่านี้ถูกรวมไปอยู่ตัวเมนูของกล้องทั้งหมด โดยอยู่ในเมนู Shoot Mode และเลือกโหมดที่ต้องการด้วยปุ่ม Scroll Wheel และรูปแบบเมนูของกล้องก็ถูกปรับแต่งให้ใช้งานร่วมกับปุ่มควบคุมที่มีจำนวน น้อยได้สะดวกมากขึ้นกว่ากล้องรุ่นที่ผ่านมา และสำหรับผู้ใช้งานที่มีประสบ การณ์แล้วกับกล้องของ NEX-3 หรือ NEX-5 ก็น่าจะยินดีกับฟังก์ชัน “Peaking” ซึ่งออกแบบให้ใช้งานร่วมกับเลนส์ที่ต้องโฟกัสแบบแมนนวล (เรียกใช้งานจากเมนู Setting) ฟังก์ชันนี้จะแสดงระดับ ของความคมชัดของระยะโฟกัส ถ้าหากวัตถุตัวใดอยู่ในระยะโฟกัสที่ชัดเจนก็จะแสดงสีกระพริบๆ เป็นสีเหลือง แดง หรือขาว









ชัดเจน: หน้าแสดงผลขนาด 3 นิ้ว สามารถแสดงรายละเอียดค่าการถ่ายภาพได้ชัดเจนและยังปรับก้มเงยได้ด้วย

สำหรับจอแสดงผลขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 921,600 พิกเซลนั้น มีขนาดใหญ่ที่เพียงพอ สำหรับการมองภาพก่อนถ่าย ร่วมกับรายละเอียดต่างๆ ในการถ่ายภาพ อีกทั้ง ยังมีความคมชัดสูง และแสดงสีสันได้สดใส ที่สำคัญจอแสดงผล สามารถดึงออกมาพร้อมกับหงายได้ 80 องศาและก้มได้อีก 45 องศา


ขณะเดียวกันในตำแหน่งอื่นๆ ก็ยังคงสไตล์ตัดเติมเสริมต่อเอาไว้เช่นเดิม ไม่ว่าเรื่องไม่มีไฟแฟลชในตัว จะต้องเชื่อมต่อแฟลชภายนอก แทนผ่านทางพอร์ตเทอร์มินอล ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ยังไม่น่าประทับใจนักก็ยังมีอย่างเช่น กล้อง NEX-C3 บันทึกวิดีโอ ได้เพียงแค่ระดับ 720p แต่ก็มีรูปแบบ การทำงานที่ต่อเนื่อง สามารถเริ่มต้นการบันทึกวิดีโอในเวลาใดก็ได้เพียงแค่กดปุ่ม “Movie” ไม่ว่ากล้องจะอยู่ในโหมดอัตโนมัติ หรือโปรแกรม นอกจากนี้ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติก็ยังทำงานได้เร็วมาก น่าเสียดายที่กล้องไม่มีช่องต่อไมโครโฟนภายนอกมาให้ จึงต้องพึ่งพาไมโครโฟนในตัวที่ บันทึกเสียงระบบสเตอริโอ ถึงกระนั้นกล้องก็สามารถเชื่อมต่อกับทีวีแอลซีดีได้ด้วยพอร์ต HDMI

บทสรุปและความคิดเห็นของ CHIP
ดูเหมือนว่ากล้อง NEX-C3 จะดูอ่อนไปนิด ในเรื่องพัฒนาการ ทางเทคโนโลยี แต่ก็ปรุงแต่ง แนวคิดที่ประสบความสำเร็จ จากกล้อง NEX-3 ในเรื่องกายภาพ ที่มีขนาดเล็ก และการใช้งานที่เรียบง่ายขึ้น ไปอีกระดับ ส่วนคุณภาพภาพ ของไฟล์ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีมาก สามารถการจัดการ กับจุดรบกวนได้อย่างน่าชมเชย ในทางกลับกัน ความเร็วในการโฟกัสภาพ ของกล้องก็ไม่ได้ดีขึ้น อย่างที่คาดหวังไว้ เรียกได้ว่า ระบบโฟกัสอัตโนมัตินั้น ไม่เพียงพอสำหรับ การถ่ายภาพแบบฉับพลันเลย ด้วยเหตุนี้ทำให้เรารู้สึกว่า ในภาพรวมแล้วกล้องรุ่นใหม่นี้ เปลี่ยนแปลงจากกล้องรุ่นพี่ ก็เพียงเรื่องฟีเจอร์ของกล้อง ซึ่งบางจุดก็สามารถ เพิ่มได้ด้วยการอัพเดตเฟิร์มแวร์ให้กับกล้องตัวเก่า

No comments:

Post a Comment