ในกล้องดิจิตอลแทบทุกตัว จะมีแฟลชป๊อปอัพขนาดเล็กติดตั้งมาด้วย บางคนคิดว่ามันไร้ประโยชน์ ไม่สามรถสร้างสรรค์งานที่สวยงามออกมาได้ แต่ความจริงถ้าคุณใช้เทคนิคให้ถูกต้อง ก็สามารถควบคุมแสงใ นการถ่ายภาพบุคคลได้อย่างนุ่มนวลเช่นกัน Integrated Flash หรือแฟลชป๊อปอัพ จะอยู่ทางด้านบนของตัวกล้อง หรือในบางรุ่นอาจพับเก็บได้ด้วยถึงแม้ว่ามันจะมีกำลังในการให้ความสว่างไม่สูงนัก และไม่สามารถปรับตั้งค่าใช้งานได้หลากหลายเท่ากับแฟลชเสริมภายนอก (External Flash) แต่มันก็เพียงพอสำหรับนำไปถ่าย Portrait สวยๆแล้ว |
1. หลีกเลี่ยงตาแดง |
ปัญหาที่พบได้บ่อยในการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชป๊อปอัพคือ ปัญหาตาแดง เนื่องจากแฟลชอยู่ใกล้กับแกน Optical ของเลนส์มากเกินไปแสงที่ปล่อยมา จะถูกสะท้อนจากชั้นเรตินาในดวงตา (ที่มีสีแดง) กลับมายังเลนส์ ทำให้มุมตกกระทบของแสงแฟลชกับมุมสะท้อนเท่ากัน ด้วยเหตุนี้ตาของคนในภาพจึงดูเป็นสีแดง ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้ Pre Flash (สัญลักษณ์รูปดวงตา) ที่จะทำให้ม่านตาของเราหดลง ก่อนที่จะปล่อยแสงแฟลชซ้ำเข้าไปอีกครั้ง ทำให้โอกาสที่จะเกิดภาพตาแดงขึ้นนั้นน้อยลง |
2. ปรับแก้ความแรงแฟลช |
ถ้าแสงแฟลชที่ออกมา ยังทำให้ภาพมืดหรือสว่างจ้าเกินไป คุณสามารถแก้ไขปัญหานี้ ได้โดยเข้าไปปรับชดเชยความแรงของแสงแฟลชในเมนู (กล้องดิจิตอลคอมแพคบางรุ่น จะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ให้ใช้ แต่ถ้าเป็นกล้อง Digital SLR เกือบทั้งหมด จะสามารถปรับชดเชยแสงแฟลชได้) ซึ่งคุณสามารถเลือกปรับลด หรือเพิ่มกำลังแฟลชได้ครั้งละ 1/3EV ตามระดับความกว้างรูรับแสง โดยมากแล้วแค่ลดหรือเพิ่ม 1 สต๊อปก็เพียงพอแล้ว ในการปรับที่ถูกต้อง ให้ทดลองถ่ายภาพดู 2-3 ภาพก่อนเพื่อที่จะได้ปรับระดับความแรง ให้เหมาะสมกับการถ่ายภาพในขณะนั้นๆ |
3. ลดเงามืด |
ถ้าแบบที่ถ่าย ยืนอยู่ใกล้กับกำแพงมากเกินไป ก็จะเกิดเป็นเงามืดขึ้นมาบนกำแพง เนื่องจากการยิงแสงแฟลชเข้าไปตรงๆ ทางแก้ไขสามารถทำได้โดย ปรับชัตเตอร์ให้รับแสงนานขึ้น และให้แฟลชทำหน้าที่ เป็น Fill Flash ยกตัวอย่างเช่น ใช้โปรแกรมอัตโนมัติ Av หรือ A ในการถ่ายภาพให้กำหนดค่ารูรับแสงที่ต้องการ ส่วนความเร็วชัตเตอร์กล้อง จะทำการคำนวณให้โดยอัตโนมัติ ส่วนแฟลชนั้นก็ให้คุณเปิดเพิ่มขึ้นเองทีหลัง นอกจากนี้การวางแผ่น Diffuse Foil ไว้หน้าแฟลช ก็จะช่วยลดเงามืดที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน เพราะมันจะทำหน้าที่กระจายแสงออกไปช่วยให้แสงที่ส่องมายังแบบนั้นดูอ่อนนุ่ม มากขึ้น สำหรับกล้องระดับไฮเอ็นด์คอมแพ็ค หรือ Digital SLR ส่วนใหญ่แฟลชจะไม่ถูกติดแน่นไว้ตายตัวกับกล้อง แต่จะสามารถพับ ปิด/เปิดได้ ซึ่งมีข้อดีคือ คุณสามารถใช้กระดาษแข็งสีขาวมาวางไว้หน้าแฟลชโดยทำมุม 45 องศา เพื่อหักเหแสงขึ้นไปบนเพดานได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการควบคุมแฟลชแบบ TTL นั่นคือ เซ็นเซอร์จะทำการ วัดทั้งแสงแฟลช และแสงถาวรที่ตกกระทบมายังวัตถุ จากนั้นจะคำนวณหาค่าแสงที่ถูกต้อง ในการถ่ายภาพ และถ้าคุณใช้กระดาษที่มีลักษณะ โปร่งแสง แทนที่จะใช้กระดาษแข็งซึ่ง แสงผ่านไปไม่ได้แล้วละก็ แสงแฟลชก็ยังจะถูกกระจายออกไปด้วยอีกทาง 1.ใช้ Foil เป็นตัวกระจายแสง 2.หักเหแสง
กระดาษแข็งจะช่วยหักเหแสงผ่านมาทางเพดาน แต่จะต้องใช้กระดาษแข็งสีขาว เพื่อที่จะไม่มีเส้นสีรบกวนต่างๆปรากฏขึ้นมาบนภาพ
3.เปิดรับแสงให้นานขึ้น
Diffuse Foil จะช่วยในการกระจายแสงซึ่งถ้าต้องการก็ใช้สองแผ่นซ้อนกัน หรืออาจจะใช้กระดาษ Sandwich แทนก็ได้
4.ใช้แฟลชโดยตรง
การถ่ายภาพโดยยิงแสงตรงๆ จะทำให้เกิดเงามืดบนฉากหลัง อีกวิธีหนึ่งที่จะลดเงาเหล่านี้ได้ก็คือ การกำหนดระยะห่างระหว่างตัวแบบกับกำแพงให้มากขึ้น
|
กล้องดิจิตอล
Monday, April 23, 2012
ใช้แฟลชอย่างไรให้เหมือนโปรฯ ตอน 2 แฟลชป๊อปอัพติดกล้อง (Integrated Flash)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment