หน้าเว็บ

กล้องดิจิตอล

Thursday, December 16, 2010

Canon PowerShot G12 อีกหนึ่งรุ่นเจ๋งสำหรับคนรักการถ่ายภาพ Print E-mail Hardware

Canon PowerShot G12 อีกหนึ่งรุ่นเจ๋งสำหรับคนรักการถ่ายภาพ



เป็นระยะเวลาหลายเดือนที่กล้อง Canon PowerShot G11 ยึดตำแหน่งกล้องดิจิตอลที่ดีที่สุดของ CHIP ก่อนที่จะต้องเสียตำแหน่งให้กับกล้อง P7000 ของนิคอนที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเราสันนิษฐานว่า กล้อง PowerShot G12 ก็เป็นคู่แข่งคนใหม่ที่ถูกส่งออกมาเพื่อต่อสู้กับกล้องของนิคอน โดยคุณสมบัติพื้นฐานก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่ากล้อง PowerShot G11 เห็นได้จากคุณภาพภาพที่ดีขึ้นและเก็บรายละเอียดภาพได้ดีกว่าเดิม




ให้ภาพดีขึ้นด้วยปริมาณจุดรบกวนที่ต่ำลง

ถ้าจะพูดให้ตรงประเด็น กล้อง G12 ยัง คงใช้คอนเซ็ปต์เดียวกับกล้องรุ่นก่อน ไม่ว่าจะเป็นความละเอียดจอแสดงผล ระยะโฟกัสของเลนส์ ค่ารูรับแสงที่เลนส์สนับสนุน รวมถึงความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดหรือสูงสุด ถึงกระนั้นก็ยังเต็มไปด้วยฟีเจอร์ในการถ่ายภาพระดับไฮเดนด์เพื่อให้มัน สามารถเป็นกล้องตัวเลือกที่ 2 รองจากกล้อง DSLR ของช่างภาพ รวมถึงผู้ที่รักการถ่ายภาพที่ต้องการกล้องขนาดเล็ก แต่มีความสามารถรอบตัว พร้อมให้คุณภาพภาพในระดับที่เอาไปโชว์ได้โดยไม่ต้องเขินอาย

ภายในกล้อง G12 ยังคงใช้เซนเซอร์ CCD ขนาด 1/1.7 นิ้ว ที่ให้ภาพขนาด 10 ล้านพิกเซล และประมวลผลการทำงานด้วยชิป DIGIC 4 โดยแคนนอนตั้งใจจะช่วยเสริมให้ภาพถ่ายมีคุณภาพสูงขึ้น ทำงานได้เร็วกว่าเดิม พร้อมด้วยจัดการกับการเกิดจุดระบบกวนบนภาพหรือสีสันภาพที่ผิดพลาดให้มี ปริมาณน้อยลง ซึ่งจากการทดสอบในห้องแลป พบว่า ตั้งแต่ค่าความไวแสง ISO 400 จนถึง ISO 1600 กล้อง G12 มีปริมาณจุดรบกวนบนภาพหรือ Noise ใน ระดับที่ต่ำมาก แต่ก็ปริมาณการสูญเสียรายละเอียดบนภาพอันเกิดจากการจุดรบกวนก็ยังคงสูง เหมือนเดิม และจะมากกว่าเล็กน้อยเมื่อใช้งานค่าความไวแสง ISO 1600 เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกล้อง G11 ขณะเดียวกันภาพถ่ายก็จะมีความคมชัดและสีสันภาพที่ถูกต้องมากกว่า นอกจากนั้นในเรื่องของความเร็ว กล้อง G12 กลับใช้เวลาโฟกัสภาพอัตโนมัตินานกว่ากล้อง G11 โดยจะจับภาพจนนิ่งภายในเวลา 0.51 วินาที และใช้ระยะเวลาในการถ่ายภาพครั้งที่ 2 ก็จะนาน 2.1 วินาที ขณะที่กล้อง G11 จะใช้เวลาโฟกัสภาพ 0.46 วินาที และใช้ระยะเวลาการถ่ายภาพครั้งที่ 2 เพียง 1.2 วินาทีเท่านั้นอย่างไรก็ตาม กล้อง G12 ก็พัฒนาในเรื่องการถ่ายภาพต่อเนื่องขึ้นมาอีกระดับ จากเดิมที่กล้อง G11 จะถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็ว 1.1 ภาพต่อวินาทีก็เพิ่มมาเป็น 2.0 ภาพต่อวินาทีแทน ส่วนเรื่องการทำงานด้วยแบตเตอรี่แม้จะไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็สามารถถ่ายภาพแบบเปิดแฟลชไปได้ 210 ภาพ และถ้าหากปิดแฟลชก็สามารถบันทึกภาพไปได้ถึง 1,970 ภาพ

โครงสร้างใหม่ พร้อมฟังก์ชัน HDR และ HD Video

โครงสร้างภายนอกของกล้อง G12 เกือบจะเหมือนกับกล้องรุ่นที่ผ่านมา แต่มีรายละเอียดบางส่วนแคนนอนที่ปรับปรุงให้ตอบสนองการควบคุมได้ดีขึ้น อย่างเช่น เพิ่มปุ่มวงแหวนด้านหน้ากล้องบริเวณมุมขวาสำหรับควบคุมค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วช่วยให้ปรับค่าการถ่ายภาพเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นอย่างมาก ต่อมาก็จะเป็นการปรับปุ่มวงแหวนเรียกใช้งานค่าความไวแสงที่เรียกค่า ISO ออกมาได้ละเอียดขึ้น จากเดิมที่ปรับได้ ISO 80, 100, 200, 400 ก็จะเป็น ISO 80, 100, 125, 160, 200, 250, 320, 400 เป็นต้น ซึ่งจะไม่ได้ระบุเป็นตัวเลขบนวงแหวน แต่จะเป็นช่องว่างๆ และใช้จุดแทน ส่วนอื่นๆ ก็ยังเดิมอย่างจอแสดงผลขนาด 2.8 นิ้ว ความละเอียด 461,000 พิกเซลที่สามารถปรับหมุนจอภาพถ่ายภาพได้ ใช้เลนส์ระยะโฟกัส 28 – 140 มิลลิเมตร พร้อมค่ารูรับแสง F2.8- 4.5 ซูมแบบออปติคอลได้ 5 เท่า

สำหรับฟังก์ชัน HDR ที่ เป็นฟังก์ชันใหม่ก็แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบดิจิตอลและความแม่นยำของ ระบบภายในตัวกล้อง ซึ่งสามารถรวมภาพถ่ายที่บันทึกด้วยค่าการถ่ายภาพที่แตกต่างกัน 3 ภาพให้ออกมาเป็นภาพๆ เดียวได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากโหมดถ่ายภาพแล้ว กล้อง G12 บันทึกวิดีโอได้ละเอียดขึ้นในระดับ HD (1,280x720 พิก เซล) แน่นอนว่า ในด้านคุณภาพภาพและเสียงก็ถือว่า น่าพอใจมากทีเดียว แต่น่าเสียดายที่การบันทึกวิดีโอของกล้องไม่สามารถจับโฟกัสต่อเนื่องได้ และบันทึกต่อเนื่องได้นานเพียง 30 นาที จากเดิมที่เคยทำได้ 60 นาที ทำให้ดูเหมือนว่าทางแคนนอนไม่ได้เน้นให้ฟังก์ชันนี้เป็นจุดขายของกล้องเลย

ภาพตัวอย่างในห้องทดสอบ :

ISO 80

ISO 400

ISO 800

ISO 1600

ISO 3200



บทสรุปและความคิดเห็นของ CHIP

ถือว่าทำได้ไม่เลวเลยสำหรับกล้อง PowerShot G12 แม้ว่าจะมีหลายๆ อย่างที่ทำได้น่าผิดหวังอย่างการบันทึกวิดีโอที่ไม่สามารถจับโฟกัสวัตถุต่อ เนื่องได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า มันถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพมากกว่า เห็นได้จากระบบการควบคุมที่เอื้ออำนวยให้ทั้งการถ่ายภาพง่ายๆ แบบเล็งแล้วถ่าย หรือจะถ่ายภาพแบบแมนนวลก็สามารถปรับค่าการถ่ายภาพได้ง่ายและละเอียดกว่า กล้อง G11 อีกทั้งคุณภาพภาพก็อยู่ในระดับที่น่าประทับใจจริงๆ ส่วนคนที่มีกล้อง G11 อยู่แล้วก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องเปลี่ยนมาเป็นกล้องตัวนี้ หากใครที่กำลังมองหากล้องคอมแพคเก่งๆ ขนาดเหมาะมือ และให้ภาพถ่ายภาพสวยๆ กล้อง PowerShot G12 ก็นับเป็นตัวเลือกที่ควรจะนำไปพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ

ที่มาจาก.http://www.chipthailand.com/th/index.php/new-product-in-test/hardwaretest/275-canon-powershot-g12-

Canon EOS 50D เทียบกับ Nikon D90



ถ้านับชั้นของกล้องกันอย่างละเอียดแล้วก็จะพบว่า การที่จะนำกล้อง EOS 50D มาเทียบกับ D90 ก็ดูจะไม่ค่อยยุติธรรมนัก ทั้งนี้เพราะว่า กล้อง EOS ที่มีรหัสเลข 2 หลัก นั้นถือเป็นกล้องกึ่งโปรทีเดียวด้วยตัวกล้องที่เป็น magnesium alloy แต่กล้อง Nikon ไล่ระดับตั้งแต่ D70 D70s D80 และ D90 นั้นจะถือว่าเป็นกล้องระดับกึ่งโปรก็พอจะนับได้ด้วยสมรรถนะของคุณภาพรูปถ่าย ที่ขอขึ้นเทียบชั้นกล้อง EOS รหัส 2 ตัว แต่ความเป็นรองก็คือตัวกล้องที่ผลิตด้วยวัสดุ Alumininm alloy ที่หุ้มด้วยพลาสติกทนทานต่อการใช้งาน

นั่นจึงไม่แปลกที่ชาวนิกรจะถือกล้องรุ่นนี้เป็นระดับกึ่งโปรเช่นเดียวกับชาว หนอนที่จะถือว่ากล้อง EOS รหัสเลข 2 หลักเป็นกล้องกึ่งโปร ซึ่งทำให้กล้องในระดับนี้ของทั้ง 2 ค่ายเป็นที่จับตาและจับจ้องใช้งานกันอย่างมากมายในตลาด



Canon EOS50D

Canon EOS50D แนะนำตัวเข้าสู่ตลาดด้วยรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกับ 40D รุ่นก่อนหน้านี้ทั้งขนาดและน้ำหนักที่ไล่เลี่ยกัน แต่สิ่งที่บรรจุอยู่ในกล้องนั้นถือว่าได้รับการพัฒนาใหม่จริงๆ

CMOS sensor ใหม่ ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ตั้งแต่ระดับของ Photodiode และ Microlens ที่เพิ่มความสามารถในการรวมแสงและรับแสงของ sensor นั่นหมายถึงสัญญาณภาพที่ดีขึ้นและสัญญาณรบกวนที่ต่ำลง ขนาดเซ็นเซอร์ APS-C ความละเอียดภาพสูง 15.1 ล้าน พิกเซล

Image processor ใหม่ DIGIC 4 โปรเซสเซอร์ประมวลผลรุ่นใหม่ ที่ทำการประมวลผลได้เร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้นและมีความจำสำรองที่จุขึ้น รองรับการประมวลสีภาพที่ 14 bit

ระบบทำความสะอาดเซ็นเซอร์ ได้รับการพัฒนาในส่วนของ Anti-static coating โดยใช้ระบบ Fluorine coating ที่ลดการเกาะของฝุ่นได้มากขึ้น รวมทั้งภายในตัวกล้องที่ลดการข้าวของฝุ่นได้อีกด้วย

จอ LCD ขนาด 3 นิ้ว ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้มีความละเอียดสูงถึง 920,000 พิกเซล ซึ่งใน 40D มีความละเอียดเพียง 230,000 พิกเซล ให้ภาพที่คมชัดมากขึ้น กว่าเดิม และยังเพิ่มระบบ Coating เพิ่มอีก 3 ชั้นคือ Coating ด้วย Fluorine ช่วยลดการเกาะของฝุ่น ชั้นที่ช่วยลดการสะท้อนแสง และชั้นที่ช่วยลดรอยขีดข่วน

Auto Optimizer ช่วยในการถ่ายภาพที่มีระดับแสงที่แตกต่างกันได้ถึง 4 ระดับ

เพิ่มระบบ S-RAW มี 2 แบบให้เลือกที่ S1 ความละเอียดที่ 7.1 ล้านพิกเซล และ S2 ที่/3.8 ล้านพิกเซล

มีระบบ AF Adjustment สำหรับเลนซ์ใช้งาน

Menu พัฒนาให้ใช้งานได้มากและง่ายขึ้น

ระบบ Live view สามารถเปลี่ยน Focus Screen ได้ 3 แบบ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานเมื่อต้องการใช้ในระบบ Manual Focus ซึ่งจะมีความสว่างลดหลั่นตามความต้องการ



Nikon D90 12.3 Megapixels

Nikon D90 เผยโฉมหน้าที่คล้ายคลึงกับ D80 รุ่นก่อนหน้านี้เช่นกัน ดีไซน์มีแตกต่างบ้างเล็กน้อย ทั้งขนาดและน้ำหนัก แต่ก็เช่นเดียวกันที่ Nikon ก็ไม่ยอมน้อยหน้าในด้านสมรรถนะแข่งขัน ด้วยการนำคุณลักษณะเด่นๆ ของ D300 ที่ออกมาก่อนหน้านั้นมาเสริมเข้าไว้ในการแข่งขัน แต่พิเศษก็คือ กล้องรุ่นนี้ถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบ Movie แถมให้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นกล้อง D-SLR ตัวแรกที่สามารถถ่ายภาพแบบ Movieได้

ระบบ Movie กล้อง D90 ถือว่าเป็นกล้อง D-SLR ตังแรกที่มีระบบถ่ายภาพแบบ Movie ถ่ายภาพในระบบ AVI ที่ 24 ภาพต่อวินาที เลือกความละเอียดภาพได้ 3 ระดับ ซึ่งถ้าเทียบความละเอียดภาพกับ Comcorder ทั่วไปแล้วถือว่ามีความละเอียดสูงด้วยเซ็นเซอร์ที่ใหญ่กว่า

CMOS sensor ใหม่ เป็นเซ็นเซอร์ขนาด APS-C ความละเอียด 12.3 ล้าน พิกเซล สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าเก่า ทำให้การใช้งานแบตเตอร์รี่ได้ยาวนานมากขึ้นถ่ายภาพได้ถึง 850 ภาพต่อการชาร์ตไฟเต็มหนึ่งครั้ง

EXPEED ใน D90 ใช้ image sensor รุ่นใหม่ EXPEED ตัวเดี่ยวกับที่ใช้ใน D300 เป็น Hi speed Image processor

มีช่องเชื่อม GPS เพิ่มช่องต่อสัญญาณ GPS ซึ่งใช้กับอุปกรณ์เสริม GPS รุ่น GP-1 บอกพิกัดเส้นรุ้งเส้นแวง ทำให้รู้ตำแหน่งที่ถ่ายภาพได้

เพิ่มระบบ live view ที่ใช้งานง่ายด้วยปุ่มกดหลังกล้องเพียงปุ่มเดียว

ระบบ Image Editing เพิ่มระบบปรับแต่งภาพให้ใช้งานในกล้อง เช่น ระบบ Distortion control แก้ตีฟภาพ ระบบ Straighten correction แก้การเอียงของภาพ หรือ Fish eye optical effect ปรับภาพแบบ fish eye เป็นต้น

แปลง RAW file ได้จากกล้อง

ระบบ Face detection ระบบตรวจจับโฟกัสใบหน้าได้ถึง 5 ใบหน้าเพื่อความคมชัดและควบคุมสีผิว

จอ LCD 3” ความละเอียด 920,000 พิกเซล


ขอบคุณบทความจากนิตรสาร

นิตรสาร CAMERART VOL. 132/2008

Canon PowerShot G11



กล้องดิจิตอลตระกูล G เป็นรุ่นท็อปของกล้องคอมแพคทั้งหมดของ Canon, เมื่อ G11 เปิดตัวก็เป็นที่พูดถึงมากเพราะเป็นกล้องรุ่นแรก (ผมว่าน่าจะของโลกก็ว่่าได้นะ) ที่เปิดตัวมาแทนรุ่นก่อนด้วยความละเอียดต่ำกว่ากล้องรุ่นก่อน จาก 14.7ล้านพิกเซลใน G10 เหลือ 10 ล้านพิกเซลใน G11 อาจเป็นเพราะแคนนอนมองว่าผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจในเรื่องคุณภาพของภาพ มากกว่าเรื่องพิกเซล

[บทความทุกบทความภายใน zoomcamera.net ยินดีและสนับสนุนให้เผยแพร่ครับ แต่รบกวนอ้างอิงที่มากลับมาที่เราด้วยครับ อุตส่าห์นั่งโม้ให้ฟังกันครับ -_-"]
Powershot G11 - คุณสมบัติทางเทคนิค

Canon G11 มีคุณสมบัติอย่างละเอียดตามตารางนี้ (ถ้าตาลายก็ข้ามไปเลยก็ได้ครับ)


Canon PowerShot G11
Sensor • 1/1.7" Type CCD
• 10 million effective pixels
Image sizes • 3648 x 2736
• 3648 x 2048
• 2816 x 2112
• 2272 x 1704
• 1600 x 1200
• 640 x 480
• 320 x 240
Movie clips • 640 x 480 @ 30fps
• 320 x 240 @ 30fps
Maximum clip length Up to 4GB or 1 hour
File formats • Still: JPEG (Exif v2.2), RAW
• Movie: MOV [H.264 + Linear PCM (monaural)]
Lens • 28-140mm (35mm equiv)
• f = 6.1 - 30.5 mm
• 5x optical zoom
• F2.8-4.5
• Construction: 11 elements in 9 groups (1 double-sided aspherical element)
Image stabilization Yes (Lens-Shift)
Conversion lenses Yes
Digital zoom up to 4x
Focus • Auto focus :TTL
- Face Detection / 9-point AiAF
- 1-point AF (center or Face Select and Track)
- Fixed centre or Face Select and Track
• Manual focus
AF modes • Single
• Continuous
• Servo AF/AE
AF lock Yes (on/off selectable)
AF assist lamp Yes
Focus distance Closest focus distance 1 cm
Metering • Evaluative (linked to Face Detection AF frame)
• Center-weighted average
• Spot (center or linked to Face Detection)
ISO sensitivity • Auto
• ISO 80
• ISO 100
• ISO 200
• ISO 400
• ISO 800
• ISO 1600
• ISO 3200
AE lock Yes
Exposure compensation +/- 2EV in 1/3 stop increments
Shutter speed • Auto (1 - 1/4000 sec)
• 15-1/4000 sec
Modes • Auto
• Program AE
• Shutter Priority AE
• Aperture Priority AE
• Manual
• Custom (2 modes)
• Special Scene
• Stitch Assist
• Low Light
• Quick Shot
• Movie
Scene modes • Portrait
• Landscape
• Night Scene
• Sports
• Night Snapshot
• Kids & Pets
• Indoor
• Sunset
• Foliage
• Snow
• Beach
• Fireworks
• Aquarium
• Underwater
• Color Accent
• Color Swap
• Stitch Assist
White balance • Auto (including Face Detection WB)
• Daylight
• Cloudy
• Tungsten
• Fluorescent
• Fluorescent H
• Flash
• Custom1
• Custom2
• Underwater
• White Balance Correction
Self timer • 2 or 10 sec
• Custom or FaceSelf Timer
Continuous shooting • Approx. 1.1 shots/sec.
• AF: Approx. 0.7 shots/sec.
• LV: Approx. 0.8 shots/sec. (until memory card becomes full)
Image parameters My Colors (My Colors Off, Vivid, Neutral, Sepia, Black & White, Positive Film, Lighter Skin Tone, Darker Skin Tone, Vivid Blue, Vivid Green, Vivid Red, Custom Color)
Flash • Auto, Flash On, Flash Off, Slow Sync, Red-eye reduction
• Slow Sync Speed : Fastest speed 1/2000 sec
• +/- 2EV in 1/3 stop increments
• Face Detection FE compensation
• Safety FE
• Flash exposure lock
• Manual Power Adjustment
• Second Curtain Sync
• Range (Auto ISO):50cm - 7.0m (wide) / 4.0m (tele)
External Flash E-TTL with EX series Speedlites, Macro Twin Lite MT-24EX, Macro Ring Lite MR-14EX, Canon High Power Flash HF-DC1
Viewfinder Real-image zoom, Optical Viewfinder
LCD monitor • 2.8 inch Vari-angle PureColor II VA (TFT)
• 461,000 pixels
• 100% coverage
• Adjustable
Connectivity • USB 2.0 Hi-Speed
• HDMI mini connector
• AV out (PAL / NTSC switchable)
Print compliance PictBridge
Storage SD, SDHC, MMC, MMCplus, HC MMCplus
Power Rechargeable Li-ion Battery NB-7L
Weight (no batt) 355 g
Dimensions 112 x 76 x 48 mm

ในส่วนของสเปก หากเปรียบเทียบกับ G10 แล้ว มีส่วนที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
เซ็นเซอร์รับภาพ: G11 ใช้ CCD ขนาดเท่าเดิม 1/1.7" แต่ลดความละเอียดลงเหลือ 10 megapixel ซึ่งแคนนอนระบุว่าเป็น High Sensitivity CCD หากดูแค่นี้ก็พอจะคาดหวังได้ว่าคุณภาพไฟล์ภาพน่าจะดีขึ้น เพราะใช้จำนวน pixel น้อยลงอยู่บนขนาดของ CCD ที่ใหญ่เท่าเดิม ยังไงคงต้องรอดูผลทดสอบประกอบ
ISO สูงสุด: เพิ่มเป็น 3200 จาก 1600 ก็น่าจะเป็นผลโดยตรงจากการใช้ลดความละเอียด ทำให้ใช้ ISO ที่สูงขึ้นได้
แฟลชในตัว: เพิ่มระยะจาก 4.6m เป็น 7m ใน G11 อันนี้มีประโยชน์มาก ระยะเพิ่มขึ้นมาใกล้เคียงกับกล้อง Superzoom เพราะปกติแฟลชในตัวของกล้องคอมแพคตัวเล็กมักจะค่อนข้าง under และยังเพิ่ม sync speed จากเดิม 1/500 เป็น 1/2000 วินาที ทำให้ใช้แฟลชกับความไวชัตเตอร์สูงๆได้
ถ่ายภาพต่อเนื่อง: G11 สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงขึ้นจาก 0.7fps เป็น 1.1 ภาพต่อวินาที แต่ก็ยังไม่สูงมากเมื่อเทียบกล้องอื่นๆ
Video/HDMI: G11 เพิ่มการรองรับการเชื่อมต่อแบบ HDMI แต่ความละเอียดสูงสุดของไฟล์วีดีโอก็ยังคงเป็น 640x480 @30fps เท่าเดิม ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ทำเป็น HD ในเมื่อกล้องคอมแพคตัวเล็กๆ อย่าง IXUS (IXY) รุ่นใหม่ๆ ก็ยังออกมาเป็น HD เลย
จอภาพ: G11 ใช้จอภาพขนาดเล็กลงนิดหน่อยจาก 3" เป็น 2.8" แต่เปลี่ยนเป็นจอแบบหมุนพับได้ ขนาดที่เล็กลงไม่น่าจะมีผลเท่าไหร่ แต่จอหมุนได้จะทำให้ใช้งานได้หลากหลายกว่ามาก
น้ำหนัก ขนาด: น้ำหนักรวมแบตประมาณ 375g เบาลงนิดหน่อย โดยที่ขนาดรูปร่างใกล้เคียงรุ่นเดิม ใช้งานจริงไม่มีผลอะไร


Canon Powershot G11 vs G10

Powershot G11 - การออกแบบ ขนาด รูปร่าง




Canon Powershot G11) Canon Powershot G11)
Canon Powershot G11) Canon Powershot G11 Canon Powershot G11
Canon Powershot G11 Canon Powershot G11

G11 มีขนาด รูปร่าง การออกแบบแทบจะเหมือนกับ G10 เนื่องจาก G11 เป็นรุ่นท็อป บอดี้มีการออกแบบมาอย่างดี ให้ความรู้สึกแข็งแรง ปุ่มสำหรับปรับค่าต่างๆก็มีให้พร้อมบนตัวกล้อง ไม่ว่าจะเป็นเลือกจุดโฟกัส โหมดวัดแสง ล็อคความจำแสง ปรับชดเชยแสง และปรับ ISO ทุกปุ่มตอบสนองดี แข็งแรง
เรื่องของขนาด หากจะมองเป็นกล้องคอมแพค ก็ต้องถือว่ายังค่อนข้างใหญ่ไปนิด แต่คาดว่าผู้ที่ใช้ G11 ส่วนมากคงไม่รู้สึกเป็นปัญหาเท่าใด เพราะ G11 วางตำแหน่งชัดเจนว่าไม่ใช่กล้อง Ultra-Compact ขนาดบางเฉียบ เช่นเดียวกับตระกูล G ทุกตัวที่ผ่านมา และคุณภาพกับการใช้งานระดับสูงขึ้นมาก็เป็นอะไรที่กล้องตัวเล็กๆให้ไม่ได้

Powershot G11 - การใช้งาน

การควบคุม: การใช้งานสะดวกมาก ปรับค่าต่างๆได้สะดวกรวมเร็ว จะมีติดขัดบ้างก็ตรงปุ่มหมุนด้านหลังที่ใช้ นิ้วโป้งปรับค่าหรือเลื่อนเมนูขึ้นลง เวลาหมุนนิ้วอาจจะโดนขอบจอบ้างเช่นเดียวกับ G10 เพราะปุ่มอยู่ใกล้จอมาก และขอบจอจะนูนขึ้นมา แต่ถ้าใช้งานถนัดแล้วก็คงไม่เป็นปัญหา มีประเด็นหนึ่งที่รู้สึกว่าด้อยกว่า G10 คือส่วนของมือจับหรือกริปที่ด้านหน้าของ G11 จะมีความชันและนูนน้อยกว่า G10 ทำให้เวลาถือมือเดียวจะรู้สึกไม่มั่นคงบ้าง ต้องหนีบแน่นๆ

จอ LCD: จอ G11 ขนาด 2.8 นิ้ว ถึงจะเล็กกว่ารุ่นเดิมนิดหน่อย แต่เวลาใช้งานก็ถือว่าใหญ่เพียงพอ เท่าที่ทดลอง จอภาพสว่าง สีสันสดใส มุมมองกว้าง มองจากด้านข้างๆ หรือบนล่างก็ยังเห็นภาพชัดเจน ใช้งานกลางแจ้งก็ไม่พบปัญหาเนื่องจากจอสว่างเพียงพอ และยังมีแสงสะท้อนบนจอ ค่อนข้างน้อย โดยรวมคุณภาพพอๆกับ G10 แต่ที่แตกต่างคือ การใช้งานในที่มืด G11 ถือว่าดีมาก สัญญาณรบกวนบนจอมีน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ G10 หรือกล้องอื่นๆจะเห็นได้ชัด

การถ่ายภาพ: ใน การใช้งานจริง ผมค่อนข้างประทับใจกว่าที่คาดไว้ ตอนแรกไม่คิดว่าถ้าจะมีอะไรดีกว่ารุ่นเก่า ถ้ามีก็คงเป็นเรื่อง noise หรือคุณภาพของภาพเท่านั้น แต่พบว่าการใช้งานในโหมดออโต้ฉลาดมาก เนื่องจากในกล้อง Canon รุ่นใหม่ๆ โหมดออโต้จะมีความสามารถในการเลือกซีนหรือโหมดให้โดยอัตโนมัติ (เหมือนกล้อง Panasonic โหมด iA) จากการทดลองแทบไม่เจอความผิดพลาดเลย ถ่ายย้อนแสงก็เปลี่ยนให้ ขยับกล้องไปใกล้ๆวัตถุมากๆก็ยังโฟกัสได้ชัด ถ่ายที่แสงน้อยก็ปรับค่าต่างๆได้อย่างเหมาะสม ทั้งหมดนี้โดยไม่ต้องปรับอะไรทั้งสิ้น สำหรับการใช้งานแบบออโต้จะพบความฉลาดที่แตกต่างจาก G10 ชัดเจน อีกประเด็นคือ G11 มีการเปลี่ยน interface ในเมนู ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น ตัวหนังสือใหญ่ขึ้น และมีข้อความแนะนำทุกครั้งที่เลื่อนไปแต่ละเมนู แต่สำหรับรุ่นประกันร้านหรือโมเดลของญี่ปุ่น จะมีแต่ภาษาอังกฤษกับญี่ปุ่น ถ้าเป็นประกันศูนย์ก็ต้องรอดูครับ น่าจะมีภาษาไทย

เลนส์: ช่วงซูม 28-140mm (5X) ของ G11 ถือว่าไม่ได้มาก แต่ก็พอสำหรับการใช้งานทั่วๆไป การซูมและโฟกัสก็ทำได้เงียบและเร็วตาม มาตรฐาน Canon ไม่ได้แตกต่างจากรุ่นเก่านัก




Wide @ 28mm (1X Zoom)



Tele @ 140mm (5X Zoom)
Powershot G11 - คุณภาพของภาพถ่าย
G11 - Outdoor Photography Test:

คุณภาพของภาพถ่ายกลางแจ้ง การทดสอบในโหมดอัตโนมัติไม่พบปัญหาอะไร กล้องสามารถปรับค่าต่างๆได้อย่างเหมาะสม ในส่วนที่ย้อนแสงหากตั้งค่า i-Contrast เป็น Auto กล้องจะดึงรายละเอียดส่วนมืดออกมาได้ดีขึ้น สังเกตุจากภาพตัวอย่างส่วนมืดเช่นเงาใต้รางรถไฟฟ้าและบริเวณผนังสีฟ้าของตัว สถานีจะสว่างและมีรายละเอียดมากขึ้นโดยที่ส่วนสว่างของภาพยังคงโทนสีเดิม


เมื่อตัดภาพ 100% ของบริเวณกลางภาพมาดู ไม่พบปัญหาอะไรชัดเจน สีสันถูกต้อง ไม่พบปัญหาขอบม่วง ความคมชัดจัดอยู่ในระดับดี


เมื่อซูมจนเต็มที่ 5X หรือ 140mm พบว่าความคมชัดยังดีอยู่และถ่ายทอดรายละเอียดได้ครบถ้วน สังเกตุจากรอยขรุขระของผิวระเบียงและคราบเปื้อนตามระเบียง

เราจะเห็นว่า G11 ยังคงถ่ายทอดรายละเอียดส่วนสว่างได้ดี โดยตึกด้านหลังยังคงมองเห็นรายละเอียดและสีสัน ไม่ได้ขาวโพลนจนเกินไป แต่ในภาพตัด 100% อีกภาพ เราพบ Chromatic Aberation (ความผิดเพี้ยนของสี) หรือที่เรียกว่า Purple Fringing (ขอบม่วง) ซึ่งพบได้ในภาพที่ถ่ายย้อนแสงและมีส่วนมืดและสว่างแตกต่างกันมากๆ แต่จากหลายๆภาพรวมถึงภาพนี้ด้วย เราพบปัญหานี้ค่อนข้างน้อย หากเทียบกับกล้องคอมแพครุ่นอื่นๆน่าจะเห็นเยอะกว่านี้


รายละเอียดส่วนสว่าง


ขอบม่วงที่พบ
G11 - Low-Light Photography Test:

ในที่แสงน้อย G11 มีความฉลาดพอ เมื่อใช้โหมดออโต้ถ่ายภาพวิวกลางคืนที่ค่อนข้างมืดโดยไม่เปิดแฟลช กล้องใช้ ISO ถึง 1600 ที่ความไวชัตเตอร์ 1/10s ซึ่งยังพอถือกล้องด้วยมือได้เพราะมีระบบ IS ลดความสั่นไหวช่วย และคุณภาพที่ ISO 1600 ก็จัดอยู่ในขั้นน่าพอใจมาก ไม่มีปัญหาเรื่อง noise จนถึงขั้นใช้งานไม่ได้ เมื่อเทียบกับ G10 ที่สภาพแวดล้อมเดียวกัน กล้องใช้ ISO แค่ 400 ทำให้ภาพค่อนข้างมืด และหากตั้ง ISO ไปที่ 1600 ภาพจะสว่างใกล้เคียงกัน แต่พบ noise ชัดเจนมาก


มีจุดน่าสังเกตุคือ พบปัญหา white balance ในโหมดออโต้ของ G11 ทำงานผิดเพี้ยนบ้าง โดยเฉพาะภาพที่มีแหล่งกำเนิดแสงหลายแบบ เช่นในรูป ที่รถตู้ควรจะเป็นสีขาวไม่ใช่สีอมฟ้า ในขณะที่ G10 กล้องสามารถปรับ white balance ได้อย่างเหมาะสม

G11 - Noise Test:

มาถึงเรื่องที่รอคอย เพราะ G11 เปิดตัวมาด้วยความละเอียดที่ต่ำลงและเน้นคอนเซ็ปท์เรื่อง noise ที่ควรจะลดลงแบบเห็นได้ชัด หากจะให้เห็นภาพ ต้องเปรียบเทียบกับกล้องรุ่นใกล้เคียงกัน ก็คือ G10 ที่ค่า ISO ต่างๆตามภาพ






ดูภาพแล้วคงไม่ต้องอธิบาย เป็นไปอย่างที่ Canon โม้ไว้จริงๆ หากดูดีๆจะพบว่า G11 ที่ ISO3200 ยังให้คุณภาพดีกว่า G10 ที่ 800 ซะอีก ทั้งหมดนี้น่าจะมาจากเหตุผลเรื่องความละเอียดที่ลดลงทำให้ความหนาแน่นของแต่ ละพิกเซลลดลงและสัญญาณรบกวนต่ำลง อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจาก CCD ตัวใหม่ที่ Canon เรียกว่า High Sensitivity CCD

ทีนี้ลองมาดู noise ในสถานการณ์จริงบ้าง ว่าจะแตกต่างกันหรือไม่ โดยจะใช้ภาพถ่ายกลางคืนเป็นตัวอย่าง เพราะเป็นสถานการณ์ที่จะเห็น noise ได้ชัดเจนที่สุด

ภาพตัวอย่างคงยืนยันได้ชัดเจน ว่า G11 โดดเด่นมากในเรื่องคุณภาพไฟล์ภาพ โดยเฉพาะการถ่ายในที่แสงน้อยหรือใช้ ISO สูงๆ
Powershot G11 - สรุปผลการทดสอบ

ข้อดี
+ การออกแบบ การประกอบและวัสดุดีมาก ให้ความรู้สึกแข็งแรง หนักแน่น
+ ความฉลาดในโหมดออโต้ มั่นใจได้เลยว่าส่งกล้องให้ใครถ่ายก็ไม่มีปัญหาหน้ามืด เบลอ และอื่นๆ
+ noise หรือสัญญาณรบกวนที่ ISO สูงๆ ต่ำมากๆ โดยที่รายละเอียดของภาพยังคงอยู่ บางคนอาจจะว่าเว่อร์แต่มันใกล้เคียง SLR มากจริงๆนะ
+ คุณภาพรูปและ Dynamic Range ดี ความผิดเพี้ยนของสี เช่น Purple Fringing(ขอบม่วง)น้อยมาก
+ มีทุกฟังก์ชั่น ใช้งานได้ตั้งแต่ออโต้แบบเด็กยังถ่ายสวยจนถึงแมนนวลเต็มรูปแบบ

ข้อด้อย
- รูปร่างที่ค่อนข้างแบน และกริปหรือมือจับที่เล็ก ทำให้จับไม่ค่อยถนัด อาจจะลำบากบ้าง ถ้าต้องปรับค่าต่างๆบนตัวกล้องอยู่บ่อยๆ
- ถ่ายภาพต่อเนื่องยังคงช้าอยู่ กล้องคอมแพครุ่นเล็กๆบางรุ่นยังไปถึง 2-3 fps แล้ว
- การบันทึกวีดีโอ ยังคงไม่มีความละเอียดระดับ HD ถึงแม้จะมีช่องต่อ HDMI มาก็ถาม ทั้งๆที่กล้องคอมแพครุ่นใหม่ๆของ Canon เองก็มีความละเอียดแบบ HD แล้วทั้งนั้น
- White Balance แบบ Auto ยังมีความผิดพลาดบ้าง G10 รุ่นเก่ายังแม่นกว่า โดยเฉพาะภายใต้สภาพแสงที่มีแหล่งกำเนิดหลากหลาย
- ราคาที่เปิดตัวมาของญี่ปุ่นเกือบจะขยับไปเล่น DSLR ได้แล้ว แต่ราคาศูนย์ยังไม่รู้ (2 ตค 52)
คู่แข่งทางตรงของ PowerShot G11

เดิมที Canon G10 มีคู่แข่งหลักๆ ที่คุณภาพและฟังก์ชั่นสูสีกันอยู่เพียงแค่ Ricoh GX200 และ Panasonic DMC-LX3 ซึ่งหากเทียบกับรุ่นใหม่อย่าง Canon Powershot G11 แล้ว ก็ยังไม่มีรุ่นไหนมีรุ่นใหม่ออกมาทดแทนเลย ที่เห็นจะมีใกล้เคียงอีกรุ่นหนึ่งก็คงจะเป็น Powershot S90 ของแคนนอนด้วยกันเองที่กำลังจะวางขายตามกันมา แต่ S90 จะมาในรูปแบบกล้องที่เล็กกว่าโดยที่สเปกสูสีกัน เพียงแต่จะไม่ได้มีปุ่มปรับค่าต่างๆมาให้มากเหมือน G11 คือวางตำแหน่งไว้สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกในการพกพาและไม่ได้ปรับค่า ต่างๆบ่อยมากนักหรือไม่ค่อยเล่นแบบแมนนวล
Canon Powershot G11

จริงอยู่ ว่าค่อนข้างประทับใจกับ G11 มากกว่าที่คาดไว้ คุณภาพแทบทุกด้านไม่มีอะไรผิดหวังเลย แต่ถ้ามองความคุ้มสำหรับคนที่คิดจะมีกล้องไว้แค่ตัวเดียวและต้องการเล่นแบบ ก้าวหน้า ราคา G11 (ช่วงเปิดตัว) ก็สามารถสอย DSLR ได้แล้ว G11 จึงน่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีกล้อง DSLR อยู่แล้วแต่ต้องการความคล่องตัวที่คุณภาพพอจะทดแทนได้ หรือสำหรับคนที่อยากเล่นกล้องดีๆ แบบลึกๆหน่อย แต่ไม่ได้คิดจะไปไกลถึง DSLR

การออกแบบ/ความแข็งแรง (Design/Built Quality)
คุณภาพไฟล์ภาพ (Image Quality)
การใช้งาน (Operation)
คุณสมบัติ (Features)
จอภาพ (LCD)
ความคุ้มราคา (Value for money)

Wednesday, December 15, 2010

mini-Review Panasonic GF1




Panasonic GF1 เป็นกล้องแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ที่ใช้เลนส์แบบ micro four-third ซึ่งปัจจุบันก็มีเพียง Panasonic และ Olympus ความ ละเอียด 12 ล้านพิกเซล บันทึกภาพเคลื่อนไหวระดับ HD ที่ 720p จอ LCD ขนาด 3" ความละเอียด 460,000 pixels บันทึกภาพต่อเนื่อง 3 ภาพต่อวินาที ดูสเปกละเอียดที่นี่

ชุดคิทมาตรฐานของ GF1 มีสองชุด ในเมืองไทยหรือกล้องประกันศูนย์จะเป็นเลนส์ 20mm f1.7 แต่ในต่างประเทศจะมี 2 แบบ อีกชุดคือเลนส์ 14-45mm f3.5-5.6 สำหรับของที่ร้านซูมคาเมร่าจะนำเข้ามาจะเป็นชุดเลนส์ 14-45mm เนื่องจากเห็นว่าเป็นเลนส์อเนกประสงค์ ใช้งานได้หลากหลายกว่า และราคาถูกกว่าพอสมควร

หากเปรียบเทียบกับกล้องคอมแพครุ่น hi-end อย่าง LX3 แล้วก็ถือว่าขนาดของ GF1 ใหญ่กว่านิดหน่อยเท่านั้น ถ้าไม่นับเลนส์ที่ยื่นออกมา

หากเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง Olympus E-P1 ก็ถือว่าขนาดกใกลเคียงกันมาก แต่บอดี้ของ GF1 จะออกแนวทันสมัยกว่า ส่วน E-P1 เน้นรูปร่างคลาสสิคเหมือนกล้องโบราณ




ทีนี้ก็ถึงเวลาทดสอบจริงๆกันดู

ฟังก์ชั่น - GF1 มีฟังก์ชั่นใช้งานได้ครบทุกอย่างเท่าที่กล้อง DSLR จะมี ที่ดูจะน้อยไปนิดก็คือพวกฟิลเตอร์เอฟเฟ็ค หรือ digital filter ที่ Olympus มีมาให้มากกว่า แต่ข้อดีที่เหนือกว่าทุกรุ่นคือฟังก์ชั่นที่อยู่ในกล้องคอมแพคก็มีเข้ามา ด้วยเพียบ เช่น face detection, face recognition ที่สามารถจดจำหน้าคนได้ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวในขณะนี้ที่มี, โหมด iA ที่ปกติแล้วกล้องพานาโซนิคก็จะฉลาดและไวกว่ายี่ห้ออื่นอยู่แล้ว, หรือแม้แต่ AF Tracking ที่เราสามารถเลือกจุดโฟกัสและให้กล้องติดตามอัตโนมัติก็ใช้ง่ายและไวมาก ทั้งนี้ล้วนเป็นผลดีของการมี Liveview ที่มีประสิทธิภาพมาก

ฟังก์ชั่นอีกอย่างที่คิดว่าสร้างสรรค์ดีก็คือ GF1 สามารถแสดงภาพ preview ตามค่ารูรับแสงและความไวชัตเตอร์ที่ตั้งไว้ให้เห็นได้ในโหมด record โดยที่ยังไม่ต้องกดชัตเตอร์ถ่าย ซึ่งปกติแล้วกล้องระดับกลางจะมีปุ่มเช็คชัดลึก (Depth of Field) สำหรับดูว่าค่ารูรับแสงที่เราปรับส่งผลต่อภาพที่จะได้อย่างไร GF1 ก็ทำได้โดยกดปุ่มปุ่มเดียวแล้วดูแบบ liveview ได้เลย แต่การเช็คผลของความไวชัตเตอร์นั้นไม่มีกล้องรุ่นไหนทำได้ ใน GF1 หากเรากดปุ่มเพื่อเช็คผลของความไวชัตเตอร์ กล้องจะแสดงภาพแบบ liveview ให้เห็นแบบเป็นเฟรมๆ เหมือนภาพเคลื่อนไหวที่กระตุก โดยแต่ละภาพที่แสดงต่อเนื่องนั้นจะเห็นผลของความไวชัตเตอร์สดๆเลย เช่น หากตั้ง 1/10 แล้วส่องไปที่ถนน จะเห็นว่าในแต่ละเฟรมรถที่วิ่งผ่านจะเบลอเป็นทางตามการเคลื่อนที่ แต่หากตั้งให้เร็วขึ้นเช่น 1/1000 ภาพที่ refresh จะเป็นภาพรถหยุดนิ่ง ไม่เบลอ เคลื่อนไปทีละเฟรม อธิบายกันแบบนี้อาจจะค่อนข้างเข้าใจยากนิดนึง แต่หากได้ลองของจริงจะเห็นชัดเจนและน่าจะมีประโยชน์สำหรับมือใหม่ในการเรียน รู้เป็นอย่างมาก

Focusing - จุดแรกที่รู้สึกได้ชัด คือ GF1 เป็นกล้อง DSLR ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกล้องคอมแพคมาก เพราะว่าขณะใช้ Liveview โฟกัสได้เร็วจัด คนละเรื่องกับ DSLR รุ่นอื่นๆที่มักจะช้าถึง 1-3 วินาที ถ้าเทียบกับ E-P1 ก็ยังถือว่าแตกต่างแบบเห็นได้ชัดอยู่

การปรับตั้ง - ตอนแรกคิดว่ากล้องตัวเล็ก จะปรับค่าต่างๆเองแบบกล้อง SLR น่าจะทำได้ลำบากหรือช้า แต่พอใช้จริงก็รู้สึกว่าเค้าออกแบบมาดี อย่างเช่น มีปุ่มสำหรับบันทึกวีดีโอโดยเฉพาะ ไม่ต้องหมุนมาที่โหมดวีดีโอก่อน มีแป้นหมุนสำหรับเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพ เช่น ถ่ายต่อเนื่อง ถ่ายคร่อมแสง ตั้งเวลาถ่าย จะเร็วกว่ากล้อง SLR ทั่วไปที่ต้องกดปุ่มด้านหลังกล้อง และปุ่มหมุนด้านหลัง (rear dial) ซึ่งเป็นปุ่มมาตรฐานของกล้อง SLR ไว้ใช้ปรับเพิ่ม/ลดค่าต่างๆ เช่น ความไวชัตเตอร์ รูรับแสง ก็มีการออกแบบให้สามารถเป็นปุ่มกดได้ด้วยในตัวเพื่อสลับหน้าที่ เช่น ในโหมด M หมุนเพื่อปรับความไวชัตเตอร์เสร็จแล้วก็กดลลงไป กล้องก็จะเปลี่ยนให้เป็นการปรับรูรับแสงต่อโดยใช้ปุ่มเดิม ไม่ต้องกดอีกปุ่มค้างไว้





dedicated video button


modes button


rear dial button

วีดีโอ - ในบรรดากล้อง DSLR ระดับกลางที่ถ่ายวีดีโอได้ ถ้าเป็นเรื่องความละเอียด ต้องยกให้ Canon 500D เพราะเป็น Full HD 1080p นอกนั้นจะเป็น HD 720p ซึ่ง GF1 ก็เช่นกัน แต่ถ้าไม่นับเรื่องนี้แล้ว ไม่มีรุ่นไหนใช้บันทุกวีดีโอได้ดีเท่า GF1 อีกแล้ว ในขณะที่ 500D ปรับออโต้โฟกัสได้ได้แต่ช้าและมีเสียงมอเตอร์ติดเข้ามาในไฟล์ และ Nikon D5000 ออโต้ไม่ได้เลย ต้องปรับแมนนวลอย่างเดียว GF1 สามารถปรับโฟกัสแบบออโต้ได้เหมือนกับกล้องดิจิตอลวีดีโอทั่วไปโดยที่ไม่มี เสียงรบกวนเข้ามา แถมยังมีฟังก์ชั่น wind cut ตัดเสียงลมหึ่งๆได้อีกด้วย

แฟลช - GF1 มีแฟลชในตัว (pop-up) มาด้วย ระยะแฟลชไม่ได้ไกลมาก แต่ก็พอใช้งานทั่วๆไป เหมือนๆกับแฟลชที่ติดมากับกล้องคอมแพคขนาดพอๆกันรุ่นอื่นๆ แต่ที่แปลกใจคือแฟลชใช้วิธีเปิดโดยการกดปุ่มแล้วเด้งขึ้นมาเหมือนกล้อง SLR แต่กระเด้งแรงมาก เวลาใช้งานคิดว่าคงต้องเอามือกดไว้บ้าง กลัวจะพังเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับ Olympus E-P1 หรือ E-P2 ที่ไม่มีแฟลชในตัว

จอภาพ - จอ LCD 3 นิ้วความละเอียดสี่แสนกว่าถือว่าไม่น้อยไม่มากสำหรับกล้องราคาขนาดนี้ คุณภาพจอจัดว่าดีเมื่อใช้ในที่แสงเพียงพอ ภาพชัด ไม่กระตุก มุมมองกว้าง ไม่พบปัญหาอะไรเป็นพิเศษ เมื่อใช้กลางแจ้งแสงสว่างมากๆ ก็จะดูยากขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ยังไม่เป็นปัญหา แต่หากใช้ที่มืดจะพบว่าจอค่อนข้างตอบสนองช้า และมี noise ในจอค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับจอของกล้องรุ่นใหม่ๆ ก็ถือว่าเป็นรอง LCD ที่ Canon ใช้

การถ่ายภาพกลางวัน - เป็นปกติสำหรับกล้องทั่วไปที่การถ่ายกลางวันมักไม่พบปัญหาอะไรชัดเจน จากเท่าที่ลองใช้งานดูก็พบว่ากล้องโฟกัสเร็ว แม่นยำ ระยะโฟกัสใกล้สุดตามสเปกสำหรับเลนส์ 14-45mm อยู่ที่ 30 cm จากระนาบโฟกัสของกล้อง แต่จากการลองใช้ดูพบกว่าทำได้ใกล้กว่านั้น อยู่ที่ประมาณ 22cm ซึ่งก็ห่างจากหน้าเลนส์ประมาณ 13 cm ในเรื่องคุณภาพของไฟล์ภาพไม่ได้ทดสอบละเอียดมากนัก แต่เท่าที่อ่านจากเวปต่างประเทศ ส่วนมากก็มีแต่คำชม จะมีปัญหาบ้างก็เรื่องสีของท้องฟ้าจะค่อนข้างอมแดงมากไปนิดเวลาถ่ายแบบ JPEG แต่เมื่อถ่าย RAW กลับไม่เป็น

การถ่ายภาพกลางคืน - ปัญหาส่วนมากของการถ่ายภาพในที่แสงน้อยคือการโฟกัส และ white balance สำหรับ GF1 พบกว่ายังคงโฟกัสได้เร็ว ไม่ผิดพลาด iA เปลี่ยนโหมดได้ถูกต้อง เช่น night portrait และ night scenery ในโหมด iA กล้องจะใช้ ISO ไม่เกิน 800 ซึ่งก็ทำให้ noise ไม่มาก แต่หากภาพมืดมากจริงๆก็แนะนำว่าควรจะปรับซัก 1600 เอง ซึ่ง noise ยังอยู่ในระดับที่พอรับได้ ส่วนเรื่อง white balance เป็นจุดที่พบปัญหาว่าในโหมด Auto white balance มีเพี้ยนอยู่บ้าง ภายใต้แสงของหลอดไส้ (สีส้ม) กล้องให้สีอมส้มๆคล้ายๆว่าปรับให้เป็นช่วง daylight เมื่อปรับเป็น incandescent ให้ถูกต้อง สีที่ได้ก็โอเค แต่ที่แปลกใจคือ GF1 ไม่มี fluoresent ให้เลือกปรับด้วย

Noise - เนื่องจากเป็น mini review ก็เลยขอสรุปให้เลยก็แล้วกันว่าผลการเช็ค noise ที่ ISO ต่างๆเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าหากอยากดูจริงจัง เข้าไปดูภาพทดสอบใน gallery ภาพตัวอย่างได้ นะครับ ที่ ISO ต่ำกว่า 1600 มี noise ค่อนข้างน้อย ไม่มีปัญหาในเรื่องคุณภาพ ส่วนที่ ISO 1600 จะเริ่มเห็น noise ชัดเจนขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ใช้งานได้อยู่ แต่พอทดสอบที่ ISO3200 ก็พบ noise เพิ่มขึ้นเยอะ อยู่ในระดับที่ควรหลีกเลี่ยง เรื่อง noise หากเปรียบเทียบกับกล้อง DSLR อื่นๆ ก็ถือว่าประมาณค่าเฉลี่ย ไม่โดดเด่นมากนัก
ISO 1600
ISO 1600


ISO 3200
ISO 3200


ISO 3200

ข้อดี
- บอดี้เล็ก สวย แต่แข็งแรง มั่นคง
- มีฟังก์ชั่นแปลกๆ เจ๋งๆ ฉลาด เร็ว เป็นกล้องเปลี่ยนเลนส์ได้ที่ใช้ live view ได้ดีที่สุด
- บันทึกวีดีโอง่าย ออโต้โฟกัสได้ หรือจะแมนนวลเต็มรูปแบบก็ได้
- ออกแบบการใช้งานปุ่มได้ดี ไม่รก ไม่สับสน คล่องตัวในการปรับตั้ง - มีแฟลช pop-up ในตัว (ดีกว่า E-P1)

ข้อด้อย
- noise ที่ ISO 3200 ยังค่อนข้างสูง
- จอ LCD มี noise เยอะเวลาใช้ในที่มืด
- Auto white balance ผิดพลาดบ้าง

สรุป

เท่าที่ทดลองใช้คงต้องสรุปเหมือนรีวิวอื่นๆที่เคยอ่านมา คือ ประทับใจมาก Panasonic GF1 เป็นกล้อง DSLR ที่ใช้ Live view ได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทดลองมา บวกกับข้อดีของค่ายพานาโซนิคที่โดดเด่นอยู่แล้วคือเรื่องการโฟกัสที่เร็วและ ฟังก์ชั่นฉลาดๆ ให้ไม่รู้สึกเหมือนใช้กล้อง SLR อยู่เลย เหมาะมากทั้งกับคนที่ใช้ SLR อยู่แล้วแต่อยากได้ตัวที่พกพาสะดวก หรือกระทั่งคนที่ไม่เคยใช้ก็ไม่รู้สึกยากแต่อย่างใด กลับจะทำให้เรียนรู้การใช้งานแบบแมนนวลได้ง่ายและเร็วขึ้น ประเด็นที่ต้องพิจารณามีแค่สองอย่างคือ ราคา ซึ่งจัดว่าค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับ E-P1 และอีกเรื่องคือเลนส์ที่มีให้เลือกไม่เยอะ และราคาก็น่าจะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าคิดจะใช้งานทั่วๆไป เน้นการพกพา ใช้คล่อง ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ตัวอื่นๆซักเท่าไหร่

เรื่องคุณภาพของภาพ ลองไปดูเพิ่มเติมกันได้ที่ Panasonic GF1 Sample Gallery หรือคลิกด้านล่างนะครับ ทุกภาพไม่มีการชดเชยแสงหรือ post processing





รีวิว GF1 จากเวปต่างประเทศ
imaging-resource
dpreview
dcresource
digital camera review

trusted reviews