กล้องดิจิตอล
Wednesday, December 15, 2010
mini-Review Panasonic GF1
Panasonic GF1 เป็นกล้องแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ที่ใช้เลนส์แบบ micro four-third ซึ่งปัจจุบันก็มีเพียง Panasonic และ Olympus ความ ละเอียด 12 ล้านพิกเซล บันทึกภาพเคลื่อนไหวระดับ HD ที่ 720p จอ LCD ขนาด 3" ความละเอียด 460,000 pixels บันทึกภาพต่อเนื่อง 3 ภาพต่อวินาที ดูสเปกละเอียดที่นี่
ชุดคิทมาตรฐานของ GF1 มีสองชุด ในเมืองไทยหรือกล้องประกันศูนย์จะเป็นเลนส์ 20mm f1.7 แต่ในต่างประเทศจะมี 2 แบบ อีกชุดคือเลนส์ 14-45mm f3.5-5.6 สำหรับของที่ร้านซูมคาเมร่าจะนำเข้ามาจะเป็นชุดเลนส์ 14-45mm เนื่องจากเห็นว่าเป็นเลนส์อเนกประสงค์ ใช้งานได้หลากหลายกว่า และราคาถูกกว่าพอสมควร
หากเปรียบเทียบกับกล้องคอมแพครุ่น hi-end อย่าง LX3 แล้วก็ถือว่าขนาดของ GF1 ใหญ่กว่านิดหน่อยเท่านั้น ถ้าไม่นับเลนส์ที่ยื่นออกมา
หากเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง Olympus E-P1 ก็ถือว่าขนาดกใกลเคียงกันมาก แต่บอดี้ของ GF1 จะออกแนวทันสมัยกว่า ส่วน E-P1 เน้นรูปร่างคลาสสิคเหมือนกล้องโบราณ
ทีนี้ก็ถึงเวลาทดสอบจริงๆกันดู
ฟังก์ชั่น - GF1 มีฟังก์ชั่นใช้งานได้ครบทุกอย่างเท่าที่กล้อง DSLR จะมี ที่ดูจะน้อยไปนิดก็คือพวกฟิลเตอร์เอฟเฟ็ค หรือ digital filter ที่ Olympus มีมาให้มากกว่า แต่ข้อดีที่เหนือกว่าทุกรุ่นคือฟังก์ชั่นที่อยู่ในกล้องคอมแพคก็มีเข้ามา ด้วยเพียบ เช่น face detection, face recognition ที่สามารถจดจำหน้าคนได้ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวในขณะนี้ที่มี, โหมด iA ที่ปกติแล้วกล้องพานาโซนิคก็จะฉลาดและไวกว่ายี่ห้ออื่นอยู่แล้ว, หรือแม้แต่ AF Tracking ที่เราสามารถเลือกจุดโฟกัสและให้กล้องติดตามอัตโนมัติก็ใช้ง่ายและไวมาก ทั้งนี้ล้วนเป็นผลดีของการมี Liveview ที่มีประสิทธิภาพมาก
ฟังก์ชั่นอีกอย่างที่คิดว่าสร้างสรรค์ดีก็คือ GF1 สามารถแสดงภาพ preview ตามค่ารูรับแสงและความไวชัตเตอร์ที่ตั้งไว้ให้เห็นได้ในโหมด record โดยที่ยังไม่ต้องกดชัตเตอร์ถ่าย ซึ่งปกติแล้วกล้องระดับกลางจะมีปุ่มเช็คชัดลึก (Depth of Field) สำหรับดูว่าค่ารูรับแสงที่เราปรับส่งผลต่อภาพที่จะได้อย่างไร GF1 ก็ทำได้โดยกดปุ่มปุ่มเดียวแล้วดูแบบ liveview ได้เลย แต่การเช็คผลของความไวชัตเตอร์นั้นไม่มีกล้องรุ่นไหนทำได้ ใน GF1 หากเรากดปุ่มเพื่อเช็คผลของความไวชัตเตอร์ กล้องจะแสดงภาพแบบ liveview ให้เห็นแบบเป็นเฟรมๆ เหมือนภาพเคลื่อนไหวที่กระตุก โดยแต่ละภาพที่แสดงต่อเนื่องนั้นจะเห็นผลของความไวชัตเตอร์สดๆเลย เช่น หากตั้ง 1/10 แล้วส่องไปที่ถนน จะเห็นว่าในแต่ละเฟรมรถที่วิ่งผ่านจะเบลอเป็นทางตามการเคลื่อนที่ แต่หากตั้งให้เร็วขึ้นเช่น 1/1000 ภาพที่ refresh จะเป็นภาพรถหยุดนิ่ง ไม่เบลอ เคลื่อนไปทีละเฟรม อธิบายกันแบบนี้อาจจะค่อนข้างเข้าใจยากนิดนึง แต่หากได้ลองของจริงจะเห็นชัดเจนและน่าจะมีประโยชน์สำหรับมือใหม่ในการเรียน รู้เป็นอย่างมาก
Focusing - จุดแรกที่รู้สึกได้ชัด คือ GF1 เป็นกล้อง DSLR ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกล้องคอมแพคมาก เพราะว่าขณะใช้ Liveview โฟกัสได้เร็วจัด คนละเรื่องกับ DSLR รุ่นอื่นๆที่มักจะช้าถึง 1-3 วินาที ถ้าเทียบกับ E-P1 ก็ยังถือว่าแตกต่างแบบเห็นได้ชัดอยู่
การปรับตั้ง - ตอนแรกคิดว่ากล้องตัวเล็ก จะปรับค่าต่างๆเองแบบกล้อง SLR น่าจะทำได้ลำบากหรือช้า แต่พอใช้จริงก็รู้สึกว่าเค้าออกแบบมาดี อย่างเช่น มีปุ่มสำหรับบันทึกวีดีโอโดยเฉพาะ ไม่ต้องหมุนมาที่โหมดวีดีโอก่อน มีแป้นหมุนสำหรับเปลี่ยนโหมดถ่ายภาพ เช่น ถ่ายต่อเนื่อง ถ่ายคร่อมแสง ตั้งเวลาถ่าย จะเร็วกว่ากล้อง SLR ทั่วไปที่ต้องกดปุ่มด้านหลังกล้อง และปุ่มหมุนด้านหลัง (rear dial) ซึ่งเป็นปุ่มมาตรฐานของกล้อง SLR ไว้ใช้ปรับเพิ่ม/ลดค่าต่างๆ เช่น ความไวชัตเตอร์ รูรับแสง ก็มีการออกแบบให้สามารถเป็นปุ่มกดได้ด้วยในตัวเพื่อสลับหน้าที่ เช่น ในโหมด M หมุนเพื่อปรับความไวชัตเตอร์เสร็จแล้วก็กดลลงไป กล้องก็จะเปลี่ยนให้เป็นการปรับรูรับแสงต่อโดยใช้ปุ่มเดิม ไม่ต้องกดอีกปุ่มค้างไว้
dedicated video button
modes button
rear dial button
วีดีโอ - ในบรรดากล้อง DSLR ระดับกลางที่ถ่ายวีดีโอได้ ถ้าเป็นเรื่องความละเอียด ต้องยกให้ Canon 500D เพราะเป็น Full HD 1080p นอกนั้นจะเป็น HD 720p ซึ่ง GF1 ก็เช่นกัน แต่ถ้าไม่นับเรื่องนี้แล้ว ไม่มีรุ่นไหนใช้บันทุกวีดีโอได้ดีเท่า GF1 อีกแล้ว ในขณะที่ 500D ปรับออโต้โฟกัสได้ได้แต่ช้าและมีเสียงมอเตอร์ติดเข้ามาในไฟล์ และ Nikon D5000 ออโต้ไม่ได้เลย ต้องปรับแมนนวลอย่างเดียว GF1 สามารถปรับโฟกัสแบบออโต้ได้เหมือนกับกล้องดิจิตอลวีดีโอทั่วไปโดยที่ไม่มี เสียงรบกวนเข้ามา แถมยังมีฟังก์ชั่น wind cut ตัดเสียงลมหึ่งๆได้อีกด้วย
แฟลช - GF1 มีแฟลชในตัว (pop-up) มาด้วย ระยะแฟลชไม่ได้ไกลมาก แต่ก็พอใช้งานทั่วๆไป เหมือนๆกับแฟลชที่ติดมากับกล้องคอมแพคขนาดพอๆกันรุ่นอื่นๆ แต่ที่แปลกใจคือแฟลชใช้วิธีเปิดโดยการกดปุ่มแล้วเด้งขึ้นมาเหมือนกล้อง SLR แต่กระเด้งแรงมาก เวลาใช้งานคิดว่าคงต้องเอามือกดไว้บ้าง กลัวจะพังเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับ Olympus E-P1 หรือ E-P2 ที่ไม่มีแฟลชในตัว
จอภาพ - จอ LCD 3 นิ้วความละเอียดสี่แสนกว่าถือว่าไม่น้อยไม่มากสำหรับกล้องราคาขนาดนี้ คุณภาพจอจัดว่าดีเมื่อใช้ในที่แสงเพียงพอ ภาพชัด ไม่กระตุก มุมมองกว้าง ไม่พบปัญหาอะไรเป็นพิเศษ เมื่อใช้กลางแจ้งแสงสว่างมากๆ ก็จะดูยากขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ยังไม่เป็นปัญหา แต่หากใช้ที่มืดจะพบว่าจอค่อนข้างตอบสนองช้า และมี noise ในจอค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับจอของกล้องรุ่นใหม่ๆ ก็ถือว่าเป็นรอง LCD ที่ Canon ใช้
การถ่ายภาพกลางวัน - เป็นปกติสำหรับกล้องทั่วไปที่การถ่ายกลางวันมักไม่พบปัญหาอะไรชัดเจน จากเท่าที่ลองใช้งานดูก็พบว่ากล้องโฟกัสเร็ว แม่นยำ ระยะโฟกัสใกล้สุดตามสเปกสำหรับเลนส์ 14-45mm อยู่ที่ 30 cm จากระนาบโฟกัสของกล้อง แต่จากการลองใช้ดูพบกว่าทำได้ใกล้กว่านั้น อยู่ที่ประมาณ 22cm ซึ่งก็ห่างจากหน้าเลนส์ประมาณ 13 cm ในเรื่องคุณภาพของไฟล์ภาพไม่ได้ทดสอบละเอียดมากนัก แต่เท่าที่อ่านจากเวปต่างประเทศ ส่วนมากก็มีแต่คำชม จะมีปัญหาบ้างก็เรื่องสีของท้องฟ้าจะค่อนข้างอมแดงมากไปนิดเวลาถ่ายแบบ JPEG แต่เมื่อถ่าย RAW กลับไม่เป็น
การถ่ายภาพกลางคืน - ปัญหาส่วนมากของการถ่ายภาพในที่แสงน้อยคือการโฟกัส และ white balance สำหรับ GF1 พบกว่ายังคงโฟกัสได้เร็ว ไม่ผิดพลาด iA เปลี่ยนโหมดได้ถูกต้อง เช่น night portrait และ night scenery ในโหมด iA กล้องจะใช้ ISO ไม่เกิน 800 ซึ่งก็ทำให้ noise ไม่มาก แต่หากภาพมืดมากจริงๆก็แนะนำว่าควรจะปรับซัก 1600 เอง ซึ่ง noise ยังอยู่ในระดับที่พอรับได้ ส่วนเรื่อง white balance เป็นจุดที่พบปัญหาว่าในโหมด Auto white balance มีเพี้ยนอยู่บ้าง ภายใต้แสงของหลอดไส้ (สีส้ม) กล้องให้สีอมส้มๆคล้ายๆว่าปรับให้เป็นช่วง daylight เมื่อปรับเป็น incandescent ให้ถูกต้อง สีที่ได้ก็โอเค แต่ที่แปลกใจคือ GF1 ไม่มี fluoresent ให้เลือกปรับด้วย
Noise - เนื่องจากเป็น mini review ก็เลยขอสรุปให้เลยก็แล้วกันว่าผลการเช็ค noise ที่ ISO ต่างๆเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าหากอยากดูจริงจัง เข้าไปดูภาพทดสอบใน gallery ภาพตัวอย่างได้ นะครับ ที่ ISO ต่ำกว่า 1600 มี noise ค่อนข้างน้อย ไม่มีปัญหาในเรื่องคุณภาพ ส่วนที่ ISO 1600 จะเริ่มเห็น noise ชัดเจนขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ใช้งานได้อยู่ แต่พอทดสอบที่ ISO3200 ก็พบ noise เพิ่มขึ้นเยอะ อยู่ในระดับที่ควรหลีกเลี่ยง เรื่อง noise หากเปรียบเทียบกับกล้อง DSLR อื่นๆ ก็ถือว่าประมาณค่าเฉลี่ย ไม่โดดเด่นมากนัก
ISO 1600
ISO 1600
ISO 3200
ISO 3200
ISO 3200
ข้อดี
- บอดี้เล็ก สวย แต่แข็งแรง มั่นคง
- มีฟังก์ชั่นแปลกๆ เจ๋งๆ ฉลาด เร็ว เป็นกล้องเปลี่ยนเลนส์ได้ที่ใช้ live view ได้ดีที่สุด
- บันทึกวีดีโอง่าย ออโต้โฟกัสได้ หรือจะแมนนวลเต็มรูปแบบก็ได้
- ออกแบบการใช้งานปุ่มได้ดี ไม่รก ไม่สับสน คล่องตัวในการปรับตั้ง - มีแฟลช pop-up ในตัว (ดีกว่า E-P1)
ข้อด้อย
- noise ที่ ISO 3200 ยังค่อนข้างสูง
- จอ LCD มี noise เยอะเวลาใช้ในที่มืด
- Auto white balance ผิดพลาดบ้าง
สรุป
เท่าที่ทดลองใช้คงต้องสรุปเหมือนรีวิวอื่นๆที่เคยอ่านมา คือ ประทับใจมาก Panasonic GF1 เป็นกล้อง DSLR ที่ใช้ Live view ได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทดลองมา บวกกับข้อดีของค่ายพานาโซนิคที่โดดเด่นอยู่แล้วคือเรื่องการโฟกัสที่เร็วและ ฟังก์ชั่นฉลาดๆ ให้ไม่รู้สึกเหมือนใช้กล้อง SLR อยู่เลย เหมาะมากทั้งกับคนที่ใช้ SLR อยู่แล้วแต่อยากได้ตัวที่พกพาสะดวก หรือกระทั่งคนที่ไม่เคยใช้ก็ไม่รู้สึกยากแต่อย่างใด กลับจะทำให้เรียนรู้การใช้งานแบบแมนนวลได้ง่ายและเร็วขึ้น ประเด็นที่ต้องพิจารณามีแค่สองอย่างคือ ราคา ซึ่งจัดว่าค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับ E-P1 และอีกเรื่องคือเลนส์ที่มีให้เลือกไม่เยอะ และราคาก็น่าจะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าคิดจะใช้งานทั่วๆไป เน้นการพกพา ใช้คล่อง ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์ตัวอื่นๆซักเท่าไหร่
เรื่องคุณภาพของภาพ ลองไปดูเพิ่มเติมกันได้ที่ Panasonic GF1 Sample Gallery หรือคลิกด้านล่างนะครับ ทุกภาพไม่มีการชดเชยแสงหรือ post processing
รีวิว GF1 จากเวปต่างประเทศ
imaging-resource
dpreview
dcresource
digital camera review
trusted reviews
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment