หน้าเว็บ

กล้องดิจิตอล

Tuesday, November 8, 2011

Panasonic Lumix DMC-FZ150

ราชันย์แห่งกล้องดิจิตอล (คนใหม่)

Panasonic Lumix DMC-FZ150
สิ่งแรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือ ระบบการซูมของเลนส์ที่ติดตั้งตัวกล้อง ซึ่งมีการทำงานที่ดีกว่ารุ่นที่แล้ว (FZ100) เป็นอย่างมาก และยิ่งไปกว่านั้น ผู้ผลิตยังได้ปรับปรุงคุณภาพภาพให้สูงขึ้นด้วยเซนเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคนิค (MOS) ขนาด 1/ 2.33 นิ้วเท่าเดิม แต่ลดขนาดภาพลงเหลือเพียง 12 ล้านพิกเซล

เก็บรายละเอียดภาพได้ดี
สำหรับเรื่องคุณภาพของภาพถ่าย สิ่งที่เราทำได้เห็นจะเป็นเพียงการแสดงความยินดีกับพานาโซนิก เนื่องจากภาพถ่ายมีคุณภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งๆ ภาพความละเอียดของเซนเซอร์ลดลงถึง 15 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับภาพจากกล้อง FZ100 แต่ภาพถ่ายกลับมีความละเอียดเส้นที่สูงกว่าถึง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ค่าความไวแสงต่ำสุด เราสามารถวัดความละเอียดเส้นได้ถึง 1222 Line pair ขณะที่กล้อง HX100V ซึ่งเป็นกล้องระดับเมก้าซูมเหมือนกันที่ใช้เซนเซอร์ความละเอียด 16 ล้านพิกเซลมีความละเอียดเส้นสูงกว่าเพียง 1358 Line pair เท่านั้น

แม้ว่าภาพถ่ายจากกล้อง FZ150 จะมีคอนทราสต์ค่อนข้างต่ำและมีการสูญเสียรายละเอียดของเนื้อภาพที่ถ่ายด้วยค่าความไวแสงต่างๆ กันกลับใกล้เคียงกันมากกับกล้องรุ่นก่อนหน้านี้ แต่สิ่งที่แตกต่างไปก็คือ รายละเอียดของเนื้อภาพนั้นทำออกมาได้ดีมาก ภาพจึงมีรายละเอียดโดยรวมที่ดีกว่าในทุกค่าความไวแสง และเฉพาะตรงจุดนี้ก็ยังเหนือกว่ากล้อง Coolpix P7100 ด้วย นอกจากนี้พานาโซนิกยังสามารถจัดการกับจุดรบกวนบนภาพของกล้อง FZ150 ได้เป็นอย่างดี จากภาพถ่ายที่ใช้ค่า ISO ต่ำสุดไปจนถึง ISO 800 ในสภาพแสงที่เหมาะสมนั้นแทบจะมองไม่เห็นจุดรบกวนเมื่อดูภาพขนาดเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์บนหน้าจอมอนิเตอร์ แต่จะมองเห็นได้ชัดมากขึ้นเมื่อใช้ค่าความไวแสงจาก ISO 800 ขึ้นไป และภาพก็จะดูเบลอๆ มีความคมชัดลดลง เนื่องจากกระบวนการ Noise reduction ของกล้อง จุดเด่นอีกอย่างของกล้องคือ สามารถบันทึกภาพในรูปแบบไฟล์ JPEG และ RAW รวมถึงบันทึกแบบ JPEG+RAW ได้ด้วย นอกจากนี้ถ้าหากคุณพิจารณาที่ตัวอย่างภาพถ่ายจะเห็นได้ว่า กล้องสามารถเก็บรายละเอียดภาพได้ดีจริงๆ และในพื้นที่มืดบนภาพก็ยังมีายละเอียดที่ดีด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กล้องมีค่าไดนามิกเรนจ์ที่กว้างในระดับที่ดี

เลนส์ซูมระดับ 24x พร้อมเสถียรภาพสูง
ตามสไตล์ของกล้องตระกูล Lumix FZ1xx กระบอกเลนส์ยังคงมีขนาดใหญ่เช่นเดิม โดยเลนส์ระยะโฟกัส 25-600 มิลลิเมตรนี้จะมีค่ารูรับแสงอยู่ที่ F2.8-F5.2 ซึ่งไม่ถือว่ารูรับแสงแคบนักในระยะเทเล นอกจากนั้นถ้าหากใช้ฟังก์ชัน “Intelligence”จะสา มารถซูมได้ถึง 32x และแม้ว่าจะถ่ายภาพด้วยระยะโฟกัสสูงสุดก็ยังสามารถถ่ายภาพได้อย่างคมชัดโดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยอะไรเลย ซึ่งความสามารถระดับนี้ในกลุ่มกล้อง Mega Zoom เห็นจะมีแต่กล้อง Sony HX100V เท่านั้นที่ทำได้ นอกจานี้กล้องยังมีโหมดใหม่ “Active Mode” ที่ทำหน้าที่ช่วยลดอาการสั่นของกล้องเมื่อถ่ายภาพมุมกว้างติดมาให้ด้วย อย่างไรก็ตาม จากภาพถ่ายมุมกว้างเราพบว่า ภาพมีการสูญเสียความคมชัดบริเวณขอบภาพไปเล็กน้อยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ส่วนค่าการบิดเบือนของภาพ (Distrotion) และอาการขอบมืด (Vignetting) ก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้

คอนเซ็ปต์การใช้งานอันน่าประทับใจ
ฟังก์ชันต่างๆ ของตัวกล้องถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพ มีรูปแบบ Scene ให้เลือกใช้ 24 โหมดและมีโหมดถ่ายภาพพาโนรามาให้ด้วย ส่วนฟิลเตอร์เอฟเฟ็กต์ก็มีให้อีก 8 แบบที่ไม่เพียงใช้งานเฉพาะภาพนิ่งแต่ยังรวมถึงการถ่ายวิดีโอด้วย สำหรับนักถ่ายภาพที่ต้องการปรับค่าการถ่ายภาพอย่างละเอียดก็สามารถเลือกใช้โหมด Aperture priority ได้ (เลือก f-stops ได้ 10 ระดับ เริ่มต้นจาก F2.8) หรือแม้แต่การตั้งค่าทุกอย่างเองก็ทำได้เช่นกัน ในส่วนของ Quick Menu ใช้งานได้ผ่านปุ่มกดไม่กี่ปุ่ม ซึ่งคุณจะสามารถเปลี่ยนวิธีวัดแสงและฟังก์ชั่นของ Auto focus ได้ แถมยังสามารถตั้งค่าแบบ Object tracking, multi-field หรือ single-span ที่มีให้เลือกหลายขนาดและตำแหน่ง โดยทั้งหมดสามารถตั้งฟังก์ชันได้ทั้งหมด 9 ค่า และสามารถเลือกเอาฟังก์ชันที่คุณใช้บ่อยๆ มาใช้งานได้โดยตั้งให้ใช้งานปุ่ม Fn เป็นปุ่มลัดได้ด้วย

จุดเติมเต็มที่เราถือว่าสมบูรณ์แบบของกล้องรุ่นนี้ก็คือปุ่ม Zoom ที่อยู่บนตัวเลนส์เลย ซึ่งจะช่วยให้การเปลี่ยนระยะโฟกัสง่ายขึ้นในเชิงการควบคุมและราบรื่นกว่าแบบที่อยู่บนตัวกล้อง และเจ้าปุ่มที่ว่านี้ยังสามารถใช้เพื่อปรับค่าอื่นๆ ได้อีกด้วยเช่นการตั้งค่าความคมชัดของภาพ ซึ่งจะช่วยให้การตั้งค่าดังกล่าวแม่นยำขึ้น จอแสดงผลของกล้อง FZ150 จะมีขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 460,000 พิกเซล ซึ่งมีความคมชัดในการแสดงภาพสูงจนน่าประทับใจ อีกทั้งตัวจอสามารถปรับหมุนได้ 2 แกนและมีปุ่มสำหรับการเปลี่ยนไปใช้งาน viewfinder ได้ ส่วนที่เป็นมือจับเป็นยาง มีขนาดใหญ่และใช้วัสดุคุณภาพสูง ส่วนอุปกรณ์เสริมอย่างแฟลชหรือไมโครโฟนสามารถติดตั้งได้ที่ด้านบนของตัวกล้อง
บันทึกวิดีโอ Full HD ได้ 2 รูปแบบ
กล้อง FZ150 สามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 1920x1080 พิกเซลได้ถึง 2 แบบ โดยในฟอร์แมท MP4 จะบันทึกด้วยเฟรมเรท 25fps และ AVCHD ที่บันทึกเฟรมเรท 50fps พร้อมด้วยบิตเรทระดับ 28Mbit/s ซึ่งบิทเรตระดับนี้ก็มีจุดที่ต้องระวังคือ การเล่นวีดิโอที่ถ่ายด้วยคุณภาพสูงสุดบนคอมพิวเตอร์ระดับกลางหรือไม่ได้รับการสนับสนุนการถอดรหัสจากฮาร์ดแวร์จะเกิดอาการกระตุกให้เห็น ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ใช้งานระดับเริ่มต้น ขณะเดียวกัน ความสามารถของเลนส์ซูมที่ซูมเข้าออกได้ช้า แต่ราบรื่น รวมถึงระบบโฟกัสอัตโนมัติที่แม่นยำก็เป็นสิ่งที่เราชื่นชอบมากในการถ่ายวิดีโอ
กลับมาที่ระบบโฟกัสอัตโนมัติในการถ่ายภาพกันบ้าง โดยกล้องใช้เวลาโฟกัสภาพจนนิ่งหลังจากปุ่มชัตเตอร์ภายในเวลา 0.33 วินาที และใช้เวลา 0.6 วินาทีในช่วงโฟกัสเทเล ขณะที่การถ่ายภาพต่อเนื่องทำได้เร็ว 12 ภาพตรอวินาที และที่น่าสนใจก็คือ การถ่ายภาพต่อเนื่องที่ใช้งานโฟกัสอัตโนมัติไปด้วยจะสามารถถ่ายภาพต่อเนื่อง ได้ประมาณ 5.5 ภาพต่อวินาที และตั้งแต่เวลาพร้อมถ่ายภาพไปจนถึงการประมวลผลภาพก็ใช้เวลาสั้นมากจนไม่มี ที่ติ น่าเสียดายนิดหน่อยตรงที่ แบตเตอรี่หนึ่งก้อนสามารถถ่ายภาพโดยใช้แฟลชได้เพียง 210 รูป ส่วนการถ่ายภาพปิดแฟลชจะทำได้ 750 รูป และหาเป็นการบันทึกวิดีโอต่อเนื่องก็ทำได้นาน 2:23 ชั่วโมง แต่ไฟล์วิดีโอแต่ละตัวจะมีความยาวสูงสุด 30 นาที

ภาพตัวอย่าง


บทสรุปและความคิดเห็นของ CHIP
จากผลการทดสอบในหัวข้อต่างๆ พิสูจน์ให้เห็นว่า กล้อง Lumix DMC-FZ150 ไม่ได้มีดีแค่เป็นกล้องที่ติดตั้งเลนส์ซูมทรงพลังเท่านั้น แต่ยังเป็นกล้องดิจิตอลที่เก่งกาจที่สุดในเวลานี้ จุดด้อยในเรื่องคุณภาพภาพที่เกิดขึ้นกับกล้องรุ่นที่ผ่านมาก็ได้ถูกแก้ไขจนสมบูรณ์แบบ แต่ก็ต้องจดไว้นิดนึงว่า กล้องตัวนี้ให้ภาพที่มีความละเอียดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกล้องคู่แข่งของโซนี่ ที่ให้ภาพความละเอียด 16 ล้านพิกเซล แน่นอนว่า ภาพของกล้อง Lumix DMC-FZ150 เมื่ออยู่ในสภาพแสงที่พอเพียงแล้วจะมีคุณภาพอย่างมาก แต่ถ้าในสภาพแสงน้อยๆ พร้อมกับต้องเพิ่มค่าความไวแสงสูงๆ ภาพที่ออกมาจะสูญเสียรายละเอียดและความคมชัด ส่วนในเรื่องความเร็วไม่ว่าจะเป็นการโฟกัสหรือการถ่ายต่อเนื่องก็ทำได้น่าประทับใจมาก รวมถึงฟีเจอร์ในด้านวิดีโอก็เป็นจุดที่ไม่ควรมองข้ามเลย






No comments:

Post a Comment